A FilmVirus Project
โครงการหนังฟิล์มไวรัส
ติดต่อ filmvirus@gmail.com และ filmvirus@yahoo.com
บล็อก ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ ที่ http://dkfilmhouse.blogspot.com/

ที่ปรึกษา: อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ก้อง ฤทธิ์ดี, สมเกียรติ์ วิทุรานิช (October Sonata)
คณะนักเขียนโดมิโน่: สุชาติ สวัสดิ์ศรี, แดนอรัญ แสงทอง, อุทิศ เหมะมูล และ ปราบดา หยุ่น
เจ้าของโครงการ : สนธยา ทรัพย์เย็น (Filmvirus)
เคยเล่นไหมเกมกระซิบบอกข้อความไล่จากหัวแถวไปถึงหางแถว
ผลคือเกมสนุกของหนังคนละม้วนเดียวกัน
น่าสมเพชที่หลายคนเข้าใจว่าวงการหนังไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่รุ่งเรือง วัดจากชื่อเสียงของหนังเรื่องโน้นเรื่องนี้ที่ออกไปกวาดรางวัล สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติกันมากมาย
แต่เราจะเข้าใจว่านั่นคือความสำเร็จที่แท้จริงได้อย่างไร ในเมื่อเงินทุนก้อนหลักนั้นไม่ใช่เงินไทยเลย และที่ได้รับบ้างก็เป็นเศษเสี้ยวก้อนเล็กซึ่งพ่วงมาตบท้าย ขอเพียงให้เออออพอปะหน้าได้ว่า นี่หนังจากประเทศไทยนะยะ
ว่าไปแล้วสถานการณ์ของวงการหนังไทยนั้นแย่กว่าสมัยเมื่อ 30-40 ปีที่แล้วเสียอีก ยุคที่ทั้งกลุ่มคนทำหนังและกลุ่มคนดูหนังนั้นยังพอมีพื้นฐานจากการอ่านเป็นเสาหลัก ก่อนที่จะมาต่อยอดเป็นงานภาพยนตร์ที่ยังต้องการสื่อสารเนื้อหา หรือสะท้อนภาพวงกว้างของคนที่เวียนว่ายในสังคมยุคนั้น ๆ
เช่นเดียวกับอีกหลายคน ที่มักฟุ้งไปว่าแนวคิดของตัวเองต้องพิเศษ แตกต่าง และดีเลยเถิดของชาวบ้านเขา ตัวผมเองในฐานะของผู้ก่อตั้ง ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ หน่วยงานอิสระทำเองเออเอง ไม่แสวงกำไร ที่ฉายหนังด้อยโอกาสนอกกระแสชมฟรีมากว่า 16 ปี และจัดพิมพ์หนังสือ ฟิล์มไวรัส (ภาพยนตร์) และ บุ๊คไวรัส (วรรณกรรม) ยังอยากจะยืนยันว่าการอ่านยังเป็นพื้นฐานสำคัญของจินตนาการ และหวังจะจุดประกายให้ความศรัทธาในการอ่านยังเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย และแม้ว่าศิลปะภาพยนตร์จะไม่สามารถทดแทนจินตนาการในการอ่านวรรณกรรมจากหนังสือเล่มได้หมดจด แต่ผมก็ยังเชื่อว่ามรดกการสร้างสรรค์ในงานสร้างภาพยนตร์นั้น ถ้าใช้อย่างเหมาะสม จะเป็นตัวเสริมส่งวรรณกรรม หนำซ้ำยังจะสามารถต่อยอดจินตนาการจากงานวรรณกรรมได้อย่างอิสระลื่นไหลและกู่ไกลได้ยิ่งกว่าเสียอีกด้วย (คอวรรณกรรมอาจไม่ยอมรับประโยคหลังนี้ แต่ความจริงก็คือมันเป็นไปได้ แม้นานทีมีหน)

ไอเดียเกิดจากที่ผมเขียนบทความ “วรรณกรรมลงแขก” ให้นิตยสาร ช่อการะเกด ฉบับที่ 46 (ตุลาคม-ธันวาคม 2551) ซึ่งผมเขียนแนะนำหนังสือนิยายฝรั่งเล่มหนึ่งชื่อปกว่า “Click” โดยในเล่มนั้นมีนักเขียนชั้นนำ 10 คนมาผลัดกันร่วมมือร่วมใจแต่งนิยายเรื่องเดียวกันโดยทยอยส่งต่อเป็นทอด ๆ เริ่มจากต้นร่างความคิดของนักเขียนคนแรกที่ส่งไม้ให้นักเขียนคนอื่น ๆ รับช่วงสานต่อ ผลลัพธ์ออกมาเป็นนิยายที่มีตัวละครชุดเดียวกัน โดยเลือกที่จะเล่าเน้น เล่าผ่าน แตกต่างกันไปตามสไตล์แต่ละนักเขียน
จะว่าไปกรณีนี้ก็ไม่ใช่ความคิดใหม่นักหนา เคยมีคนทำมาก่อนบ้างแล้ว แม้แต่พวกศิลปินเซอร์เรียลลิสต์ที่ช่วยกันลงแขกปะติดปะต่อเรื่องที่ไม่ใส่ใจเหตุผล กระทั่งในงานศิลปะแนวอินเตอร์แอ็คทีฟตามแกลเลอรี่ หรือหนัง “ดอกฟ้าในมือมาร” ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ให้ชาวบ้านหลายภาคแต่งต่อนิทาน แล้วหากเรานับบทเสภา “ขุนช้างขุนแผน” ที่ช่วยกันแต่งหลายมือ หลายปาก หลากหลายยุคสมัยก็พอกล้อมแกล้ม (แต่กรณีหลังนี้เขามีโครงเรื่องมาก่อน)

ผลงานที่ออกมาจะแตกต่างจากหนังรวมเรื่องสั้นตามหัวข้อกำหนดทั่วไป ซึ่ง คนทำหนังแต่ละคนมักจะมีอิสระเล่าเรื่องตามใจตัวเองเต็มที่ (เช่นเรื่อง ปารีส เฌอแตม หรือ New York, I Love You) คือในกรณีของหนังโดมิโน่นี้ นอกจากหนังทุกเรื่องจะต้องยึดหัวข้อเดียวกันแล้ว ยังต้องมีกลุ่มตัวละครและฉากหนังรับส่งให้มีความต่อเนื่องกันให้มากที่สุด เพื่อผลรวมที่ออกมาแม้จะมีความเป็นอิสระในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงความเป็นองค์รวมด้วย นั่นย่อมหมายความว่าคนทำหนังทั้ง 4 คน ควรปรึกษาและให้คำแนะนำกันตลอดการทำงาน (หรือปรึกษากับนักเขียนในฐานะพี่เลี้ยง) เพื่อที่ผลงานจะได้สอดรับไปทิศทางที่สอดคล้องกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
ในช่วงแรกผมอยากจะทยอยสร้างหนังความยาวประมาณ 2 ชั่วโมงจำนวน 4 เรื่อง โดยในแต่ละเรื่องนั้นก็ถือเป็นผลงานที่งอกเงยมาจากนักเขียนผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้ามามากำหนดโจทย์ หรือโครงเรื่องให้อีกที กล่าวคือในหนังที่มีต้นกำเนิดจากนักเขียนแต่ละคน ในแต่ละเรื่องก็จะมีโจทย์ที่ไม่ซ้ำกัน พล็อตเรื่องและตัวละครก็แตกต่างกันไปตามทิศทางของนักเขียน โดยในแต่ละเรื่องแต่ละชุด ประกอบด้วยตอนย่อยประมาณ 4 ส่วน ที่แบ่งกำกับและสานต่อเรื่องโดยคนทำหนัง 4 คน (โดยแต่ละโจทย์ที่นักเขียนนำมามอบให้คนทำหนังอาจมีความยาวตั้งแต่ 1 หน้ากระดาษ หรือยาวกว่านั้น - ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนักเขียนแต่ละท่าน)
นักเขียนรับเชิญ 4 ท่านที่ยินดีเข้าร่วมกำหนดโจทย์
1. สุชาติ สวัสดิ์ศรี / สิงห์สนามหลวง แห่งนิตยสารวรรณกรรมในตำนาน “โลกหนังสือ” และ “ช่อการะเกด” (และยังเป็นศิลปินแนววิจิตรศิลป์และภาพยนตร์ศิลปะ)
2. แดนอรัญ แสงทอง ศิลปินศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ ปี 2553 (เหรียญอิสริยาภรณ์ฝรั่งเศสปี 2551)
3. อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์และนักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดส์ ปี 2552
4. ปราบดา หยุ่น เจ้าของสำนักพิมพ์ ไต้ฝุ่น และนักเขียนรางวัลซีไรต์ปี2545
ตัวอย่างบางส่วนของนักทำหนังสั้นที่เข้ามาร่วมโครงการหนังลงแขก
2. รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค เคยมีหนัง “ของ เหลวที่หลั่งจากกาย” เข้ารอบประกวดมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 13
3. เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง เคยมีหนัง “คำพิพากษาของซาตาน” เข้ารอบประกวดมูลนิธิหนังไทยปี 2553
4. วชร กัณหา ร่วมกับเพื่อนในนาม “กลุ่มสำนักงานใต้ดิน” มีผลงานเรื่อง “เฟื่อง” เข้ารอบประกวดมูลนิธิหนังไทยปี 2553
ในอนาคตคงจะดีไม่น้อย หากเราสามารถสานต่อทำหนังแนวนี้ออกมาอีกหลายเรื่อง โดยเรียนเชิญนักเขียนท่านอื่นๆ เช่น อาจินต์ ปัญจพรรค์, ชาติ กอบจิตติ และท่านอื่นๆ เข้ามากำหนดโจทย์ ณ เวลานั้นเราคงมีผลงานหนังชุดใหญ่ที่ประกอบฉายได้เป็นเทศกาลหนัง หรือกระทั่งเป็นทีวีซีรี่ส์

งบประมาณการผลิตแต่ละเรื่อง (ใน 1 เรื่องยาวแบ่งเป็น 4 ตอนสั้นสำหรับคนทำหนัง 4 คน) ทั้งหมดรวม 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ประกอบด้วยค่าโปรดักชั่น และค่าลิขสิทธิ์ไอเดียนักเขียน โดยได้ผลลัพธ์เป็นงานที่พร้อมจัดฉายและพร้อมประกวด แน่นอนว่างบประมาณเพียงเท่านี้คงไม่มีใครได้รับเงินค่าจ้าง (ยกเว้นค่าไอเดียนักเขียน) เพราะแทบทุกบาททุกสตางค์ต้องจัดสรรให้เป็นงบประมาณกองถ่ายทั้งหมด
ช่องทางการเผยแพร่หนัง
อนาคตการเผยแพร่ตามเทศกาลหนังหรือสถานีโทรทัศน์ต่างประเทศ และจัดฉายในหอศิลป์กรุงเทพ ฯ นั้นมีความเป็นไปได้อยู่ หากมีความพร้อมใจในการประสานงาน ขาดเพียงแต่เงินสนับสนุนเท่านั้น
คงดีไม่หยอก หากความฝันข้างบนจะเป็นจริง และไม่กลายเป็นเพียงภาพหลอนลวงตา แต่ ณ เวลานี้ที่กระทรวงและบริษัทห้างร้านแทงกั๊ก รอหลักประกันความคุ้มค่า หวังจับทั้งทางขายวัฒนธรรมและกำไร ย่อมยังไม่มีใครเสนอตัวเสี่ยง เพราะเพื่อนพ้องในวงการแทบทุกคนซึ่งประสบความสำเร็จในการหาทุนในต่างแดนล้วนพูดเสียงเดียวกันว่าให้ไปหาเงินจากเนเธอร์แลนด์หรือเกาหลียังง่ายกว่าและไม่มีข้อผูกมัดมากเรื่องเช่นในบ้านเรา

อย่างไรก็ตาม ผมยังอยากพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำหนังสั้นและหนังใหญ่นั้นยังมีวิธีดิ้นหนีไปในทางประเทืองปัญญาแบบไหนอีก เพราะความจริงที่ไม่พูดกันก็คืออนาคตของหนังสั้นนั้นมีขอบเขตจำกัด ขณะเดียวกันทำอย่างไรเราจะส่งต่อให้คนทำหนังสั้นได้ก้าวเดินต่อไปแบบไม่ซ้ำซาก ทำหนังรับใช้ผลิตภัณฑ์ หรือตอบสนองสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีนั้นเป็นเรื่องน่านิยม แต่ในระยะยาวนั้นไม่ได้ยั่งยืนหรือเป็นกองทุนให้คนในอนาคตได้ต่อยอดจินตนาการทางศิลปะอย่างแท้จริง เพราะเพียงรวบรวมคนมา ต่างคนต่างทำหนังสั้น 3-4 เรื่องแล้วมารวบรวมฉายในหัวข้อเดียวกันมันง่ายจริง แต่ไม่ท้าทายชีวิต

(ดัดแปลงจากบทความของ สนธยา ทรัพย์เย็น ในคอลัมน์ “ฟิล์มไวรัส” นิตยสาร Vote ปีที่ 6 ฉบับที่ 135, ปักษ์แรก มีนาคม 2554)
อาจสงบสุขของพระเจ้าอยู่กับคุณ
ตอบลบคุณเป็นนักธุรกิจหรือหญิง? คุณอยู่ในใด ๆ
ความเครียดทางการเงินหรือไม่หรือคุณต้องการเงินทุนเพื่อเริ่มต้นขึ้น
ธุรกิจของคุณเอง?
A) การขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
B) ธุรกิจและการศึกษาเริ่มต้นขึ้น
C) รวมหนี้
ชื่อ: ..........................................
ประเทศ: .........................................
สถานที่ตั้ง: ..........................................
สถานะ: .......................................
เพศ: ................................................ ...
อายุ ................................................. ....
การกู้ยืมเงินที่ต้องใช้: .........................
ระยะเวลากู้: ...................................
หมายเลขโทรศัพท์มือถือส่วนบุคคล: .......................
รายได้ต่อเดือน: .....................................
ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง
อีเมล์: marycoleloanscompany3@gmail.com