หัวใจของโดมิโน่ ฟิล์ม

หัวใจของโดมิโน่ ฟิล์ม
Making a 4 x 100 Relay Run Film & Breath a New Life of the Text. Forget conventional film adaptation and re-create the magic of Anything Goes Cinema.* * * ครั้งแรกในประเทศไทยที่นักเขียนระดับแนวหน้า รวมใจลงแขกกับนักทำหนังสั้นแบบไม่เกรงใจสูตรคร่ำครึ ปฏิวัติการดัดแปลงวรรณกรรมรูปแบบใหม่ ให้เป็นการด้นเกมแห่งเสียงอักษรไหลสุดขอบจินตนาการภาพ ด้วยโจทย์ต้นเรื่องของนักเขียนที่จุดประกายให้คนทำหนังสั้น 4 คน ต่อ-แต่งเรื่องเล่าตามใจชอบ เกิดเป็นหนังยาว 2 ชั่วโมงในวงเงินเพียง 5 แสนบาท ท้าทายการสร้างหนังในระบบธุรกิจ เพราะทุกคนสามารถมีสิทธิ์สนับสนุนหนังโดมิโน่ ด้วยการร่วมบริจาคทุนสร้าง

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

“ความเศร้าของภูตผี” Teaser ชุด 1



เพิ่มอีกอันหนึ่ง หนังตัวอย่างแนะนำผลงานเรื่องแรกของ “โครงการหนังโดมิโน่ 4 สหาย”

“ความเศร้าของภูตผี” บทหนังของ แดนอรัญ แสงทอง กำลังเป็นแรงบันดาลใจให้ 4 คนทำหนังพัฒนาบทหนังยาวอยู่ในขณะนี้

นี่คือตัวอย่างฉบับย่อแนะนำเมืองหิมะ ส่วนหนังตัวอย่างฉบับยาวจะตามมาในเร็ววัน

Domino Film Experiment Trailer - วีดีโอแนะนำโครงการหนังโดมิโน่

มาแล้ว หนังตัวอย่างแนะนำโครงการหนังโดมิโน่ 4 สหาย ของ ฟิล์มไวรัส

Domino Film Experiment Trailer

แนะนำ 5 นักเขียน 2 นักแสดง 4 ผู้กำกับ และทีมผู้สร้าง

ว่าที่เพลงในหนังโดมิโน่ ตอน ของ แดนอรัญ แสงทอง

คุณ แดนอรัญ แสงทอง อยากให้มี 2 เพลงนี้ในหนังโดมิโน่

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

สรุปโครงการ "ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย" for beginners

ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย
Domino Film Experiment 
หนังที่ทุกคนมีส่วนร่วมสนับสนุนได้

โปรดิวเซอร์ : ภาณุ อารี (The Convert และ Baby Arabia)
ที่ปรึกษา: อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ก้อง ฤทธิ์ดี, สมเกียรติ์ วิทุรานิช (October Sonata)
คณะนักเขียนโดมิโน่: สุชาติ สวัสดิ์ศรี, แดนอรัญ แสงทอง, อุทิศ เหมะมูล, ปราบดา หยุ่น, อนุสรณ์ ติปยานนท์
นักแสดงรับเชิญ : ทราย - อินทิรา เจริญปุระ และ เจนจิรา พงพัศ (ลุงบุญมีระลึกชาติ) 
เจ้าของโครงการ : สนธยา ทรัพย์เย็น (Filmvirus)
ติดตามข้อมูลโดยละเอียดที่เว็บไซต์ http://dominofilm.blogspot.com/
หรือ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) : ติดต่อ โมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด โทร 02-925-0141, 086-490-6295
E-Mail: morimartr@gmail.com, filmvirus@gmail.com

ปูมหลัง
ภาพยนตร์ไทยนอกกระแสเริ่มสร้างความคุ้นเคยให้คนดูหนังทั่วไปได้รู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่หนังเหล่านี้ก็ยังต้องพึ่งพาทุนสร้างจากต่างประเทศเป็นหลัก หรือความจริงคือสยามประเทศที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังไม่พร้อมสำหรับพื้นที่ทางเลือกอย่างแท้จริง และหากผู้มีอำนาจชี้ขาดในสถาบันและวงการภาพยนตร์ยังขาดความเท่าทันทางศิลปะโลก เราจะรอช้าอยู่ไย ทำไมไม่สร้างหนังในแบบที่เราเชื่อและอยากดู

อะไรคือ ปฏิบัติการหนังโดมิโน่
ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ ต่างจากหนังทั่วไปในแง่ที่ว่า นี่คือการท้าทายหนังในระบบอุตสาหกรรมด้วยการรบกวนกระเป๋าสตางค์คนดูโดยตรง งานนี้บุคคลทั่วไปนอกวงการภาพยนตร์สามารถมีส่วนร่วมสมทบสร้างหนัง จากเป้าทุนสร้างเพียง 5 แสนบาทสำหรับการทำหนังใหญ่ 1 เรื่อง โดยในหนังแต่ละเรื่องได้เรียนเชิญนักเขียนครั้งละ 1 ท่าน (จากทั้งหมด 5 ท่าน) เข้ามากำหนดโจทย์คร่าว ๆ ให้คนทำหนังทั้ง 4 ผลัดกัน แต่ง-เติม เรื่องราวในลักษณะตัวต่อโดมิโน่ พร้อมกับถ่ายทำจนได้ผลงานหนังยาว 1 เรื่อง เมื่อผลงานหนังเรื่องแรกเสร็จ จึงจะทยอยสร้างหนังโดมิโน่จากโจทย์ของนักเขียนคนต่อไปจนกระทั่งครบ 5 เรื่อง

ลำดับการสร้างหนังโดมิโน่ ตามโครงการ หนังโดมิโน่ประกอบด้วยหนังจำนวน 5 เรื่อง คือ

1. หนังจากโจทย์ของ แดนอรัญ แสงทอง (ศิลปินศิลปาธร ปี 53 / เหรียญอิสริยาภรณ์ฝรั่งเศสปี 51)
2. หนังจากโจทย์ของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ โลกหนังสือ, ช่อการะเกด /นักทำหนังศิลปะ)
3. หนังจากโจทย์ของ อุทิศ เหมะมูล (นักเขียนรางวัลซีไรต์และรางวัลเซเว่นอวอร์ดส์ ปี 2552)
4. หนังจากโจทย์ของ ปราบดา หยุ่น (นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2545 / เจ้าของสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น)
5. หนังจากโจทย์ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ (เข้ารอบสุดท้ายซีไรต์จาก “เคหวัตถุ” และ "นิมิตต์วิกาล" 2554)

หัวใจโดมิโน่
 แนวคิดแบบโดมิโน่นั้น คือการประกาศว่า หนังเกิดขึ้นได้จากแรงบันดาลใจรอบตัวทุกชนิด และหากหนังเคารพตัวอักษรหรืองานวรรณกรรมเป็นที่มาแห่งแรงบันดาลใจ ในความนอบน้อมถ่อมตนนั้นมันก็ยังสามารถก้าวพ้นจากท่านอาจารย์อย่างอิสระ และเป็นได้มากกว่า “ทาสวรรณกรรม” หรือภาพประกอบหนังสือ เพราะแม้แต่ตัวของนักเขียนต้นเรื่องเองก็ไม่อาจทราบได้ว่าหนังทั้งเรื่องจะคลี่คลายไปในลักษณะไหน

กติกาสนาม
ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย ท้าใจให้คนทำหนังทั้ง 4 คน ซึ่งมีความสนใจและลักษณะผลงานแตกต่างกันมาก ต้องพยายามหาวิธีทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ คล้ายกับการวิ่งผลัด 4 คูณ 100 หรือการร่วมบรรเลงดนตรีแจ๊ส ที่ทุกคนผลัดกันเล่นโซโล่หรือเล่นสมทบ ทั้งนี้พวกเขาต้องใช้จินตนาการและความอดทนที่จะประสานทุกอย่างให้สอดคล้องกันได้มากที่สุด ขณะเดียวกันต้องบริหารทุนและตารางการถ่ายทำอย่างรอบคอบ เพราะลมหายใจของหนังโดมิโน่ จะตามรดต้นคอของทีมงานไปตลอดจนกว่าผลงานจะแล้วเสร็จ ในขณะที่พวกเขากำลังเร่งร้อนทำงาน ผู้ไว้วางใจร่วมลงทุนทุกท่านต่างก็กำลังรอคอยผลลัพธ์อย่างใจจดใจจ่อด้วย 
 
งบประมาณและยุทโธปกรณ์

ทางคณะผู้จัดหนังโดมิโน่กำลังรอความช่วยเหลือทั้งด้านเงินทุน แรงงานและอุปกรณ์ การอำนวยความสะดวกทางสถานที่ การเดินทาง และอาหาร เพราะเมื่องบประมาณน้อยก็ต้องเน้นทุนสมองเป็นหลัก กล้องที่ใช้ถ่ายทำย่อมเทียบคุณภาพมืออาชีพไม่ได้ อาศัยความช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนฝูง ประหยัดทั้งค่ารถ ค่าอาหาร ค่าแรง ตามความสมควร หากบุคคลหรือองค์กรใดต้องการอาสาเป็นผู้สนับสนุนโครงการทั้งด้านเงินและการลงแรงงาน สามารถติดต่อเสนอทุนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ความคืบหน้าจะแจ้งผลอย่างต่อเนื่องในเว็บโดมิโน่ เว้นแต่หากรวบรวมทุนสร้างไม่ถึง 5 แสนบาท ทางผู้จัดจะดำเนินการคืนเงิน

แผนการจู่โจม
 นอกเหนือจากการขอทุนสนับสนุนจากชาวบ้านร้านช่องแล้ว ผู้จัดหนังโดมิโน่จะพยายามติดต่อกองทุนต่างประเทศและองค์กรในประเทศไปพร้อมกันด้วย อย่าลืมอวยพรให้พวกเรา

จารึกรอยผู้กล้า

 ผู้ใดที่มีจิตศรัทธาและเชื่อมั่นว่าทีมงานโดมิโน่ไม่ใช่คนลวงโลก สามารถติดต่อขอสนับสนุนโอนเงินของพวกท่านมาได้เลย ท่านสามารถดูรายละเอียดประเภทของการสนับสนุนทุนได้ในบล็อก และชื่อของทุกท่านที่สนับสนุนจะปรากฎบนบล็อกเช่นกัน 

ระยะเป้าและเส้นทางหลังสมรภูมิ
 เราคาดว่าหนังที่สำเร็จจะมีโอกาสฉายโชว์ในต่างประเทศ ตามเทศกาลหนังต่างๆ หรือโรงภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งแห่งในประเทศ รวมทั้งที่หอศิลป์กรุงเทพฯ  

ลิขสิทธิ์ 
ลิขสิทธิ์หนังไม่ตกเป็นของผู้ร่วมสนับสนุน แต่จะตอบแทนเป็นเครดิตขอบคุณในหนัง หรือในลักษณะอื่นๆ ดังที่แจ้งไว้ในเว็บโดมิโน่ 

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

หนึ่งน้ำใจเจได

ความงามของการทำงานคือ การได้รับความช่วยเหลือและมิตรไมตรีจากคนแปลกหน้าหรือคนหน้าใหม่ ๆ ในชีวิต เราขอขอบคุณ ทราย อินทิรา เจริญปุระ และ ป้า เจนจิรา พงพัศ (นักแสดงคู่ขวัญของหนัง อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) ที่ให้ความไว้วางใจกับทีมงานของหนังโดมิโน่ ในภาวะที่ภาครัฐและผุ้มีอำนาจหมางเมินโครงการนี้มาตลอด เราขอขอบคุณท่านทั้งสองด้วยความซาบซึ้งใจ และแน่นอนกับทุกท่านที่ส่งกำลังใจมาให้พวกเราด้วยเช่นกัน ไม่สำคัญว่าคุณจะให้ทุนรอนเราหรือไม่ แต่ทุกกำลังใจ ทุกแรงงานที่อาสาเข้ามาช่วย เราขอน้อมรับด้วยความตื้นตันใจยิ่ง

และล่าสุดกับอีกหนึ่งพลังจากคุณ "ฉลองรัตน์" Chalongrat Laipayak ผู้อาสามาช่วยเหลือทีมงานเราออกแบบโปสเตอร์งานแถลงข่าว “ปฏิบัติการหนังโดมิโน่” ในวันจันทร์ที่ 25 ที่กำลังจะถึงนี้

โดมิโน่หนัง (สือ) Domino Book

มี “โดมิโน่หนัง” แล้วทำไมจะมี “โดมิโน่วรรณกรรม” ไม่ได้

“ความเศร้าของภูติผี” บทหนังฉบับกระทัดรัดของ แดนอรัญ แสงทอง เรื่องเดิมที่ทำเป็น หนังโดมิโน่ นี่แหละกำลังจะถูกนำมาขยายเติมด้วยฝีมือนักเขียนรุ่นใหม่อีก 3 คน นั่นคือคู่ซี้หุ้นส่วนเจ้าของ “ร้านหนัง (สือ) 2521” ที่ภูเก็ต คือ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (filmsick) นักเขียนรางวัลช่อการะเกด และ นฆ ปักษนาวิน (โลกเก้าใบในร้านหนังสือ) ร่วมด้วยกวีหนุ่ม อุเทน มหามิตร (หนังสือเข้ารอบซีไรต์ : ฤดูมรสุมบนสรวงสวรรค์)

ข้อได้เปรียบชัดเจนของงานเขียนเหนือการทำหนังก็อย่างที่คงรู้กัน คือ นักเขียนสามารถเริ่มทำงานจนเสร็จได้เลย ไม่ต้องรอทุนสร้าง จะเผยแพร่บนเว็บไซต์ก็ง่ายดาย ส่วนการจัดพิมพ์เป็นเล่มนั้นอันนี้คงต้องมองหาสำนักพิมพ์กันอีกที แต่พวกนักเขียนน่ะ แค่ขอให้ได้เขียนก็สุขใจ

(ภาพโปสเตอร์โดย filmsick)

ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ แจมทีมหนังโดมิโน่

เคี้ยง - ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ ร่วมอาสาทำเสียงให้หนังโดมิโน่

อย่าลืมติดตามชม งานฉายหนังของ ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ 5 เรื่อง ที่ หอศิลป์กรุงเทพ ฯ ชั้น 9
14 พฤษภาคม 2554 เวลา 15.00-18.00 น. (ชมฟรี)

5 หนังรสเคี้ยง ได้แก่ 
- คืนวันหนึ่งที่ถนนตะแลงแกง
- สัตว์วิบากหนักโลก
- อัตถิภาวะนิยมสุขสันต์ 
- หนีนรกโพธิ์พระยา 
- take off

(ภาพโปสเตอร์โดย filmsick)

ผีครวญ


“ความเศร้าของภูตผี” บทหนังดั้งเดิมของ แดนอรัญ แสงทอง คือหนังเรื่องแรกที่กำลังขยายพันธุ์ในโครงการหนังโดมิโน่ ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างเรียบเรียงทรีทเมนท์ส่งเกาหลี ถ้าโชคดีอาจจะได้เงินก้อนหนึ่ง แต่แม้ได้ทุนมาก็ใช่ว่าจะครบ 5 แสนบาท และยังต้องการความสนับสนุนจากคนไทย (ที่ไม่ได้รักเฉพาะนเรศวร) อยู่ดี

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

เทศกาลหนัง 15/15 ฟิล์มเฟสติวัล

ภาพวีดีโองาน 15/15 ฟิล์มเฟสติวัลนี้ไม่ได้เกี่ยวกับ โครงการ "ปฏิบัติการหนังโดมิโน่" แต่เป็นโครงการที่ ฟิล์มไวรัส เคยจัด และอยากให้คนเข้าใจว่าสปิริตของหนังโดมิโน่ ไม่ใช่การทำหนังยาวที่มุ่งให้ทุกองค์ประกอบต่างส่วนรวมกันอย่างสมบูรณ์แบบ หากแต่กระตุ้นให้เกิดไอเดียอิสระฉีดกระโจน เช่นเดียวกับที่หนังในเทศกาล 15/15 (บางเรื่อง) เคยทำได้



15/15 Film Festival Australia -Bangkok เทศกาลหนัง 15/15 ฟิล์มเฟสติวัล เคยจัดสองครั้งในเมืองไทย โดย ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) เคยเป็นเจ้าภาพฝ่ายไทย ร่วมกับ สถานทูตออสเตรเลีย จัดประกวดหนังสั้นความยาวไม่เกิน 15 นาที ที่ถ่ายทำขึ้นภายใน 15 ชั่วโมง โดยเริ่มจากการเปิดซองอ่านโจทย์ที่ต้องใช้ในภาพยนตร์ในตอนเช้า และเริ่มถ่ายทำ-ตัดต่อหนังให้เสร็จพร้อมส่งภายในคืนนั้น ๆ กิจกรรมนี้จัดขึ้นพร้อมกันหลายประเทศทั่วโลก ภายในเวลาที่ไล่เลี่ยกันของวันเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

Domino Film Experiment ที่ Bangkok Post, 13 April 2011


ขอบคุณ ก้อง ฤทธิ์ดี ในที่สุดข่าว ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย ที่ Bangkok Post, 13 April 2011

http://www.bangkokpost.com/arts-and-culture/film/231749/small-money-big-names

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

Welcome 2 Grand Dames of Thai cinema on Domino Film' s board

ทราย - อินทิรา เจริญปุระ และป้าเจน สุดเสน่หาของชาวเรา รับชวนมากินอุดมการณ์ เล่นหนังโดมิโน่ การได้สองนักแสดงระดับนี้ถือเป็น แสงแห่งศตวรรษ และนับเป็นพระเดชพระคุณยิ่งสำหรับชาวฟิล์มไวรัสพะยะค่ะ

* * * ติดตามข่าวหนังโดมิโน่ 4 สหายที่ Domino Facebook นะคะ (คลิกบนภาพด้านขวา)

Follow Domino Film Updates on Facebook (please look on your right and click)

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

ปรบมือต้อนรับ อีก 1 โดมิโน่คนสำคัญ - อนุสรณ์ ติปยานนท์


ขอต้อนรับด้วยความยินดียิ่ง อีกหนึ่งลายปากกาโดดเด่นของยุคนี้ คุณ อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนเจ้าของผลงานเข้ารอบซีไรต์ และ ผลงานดังอย่าง เคหวัตถุ, ลอนดอนกับความลับในรอยจูบ, 8 ½ ริกเตอร์ และ นิมิตต์วิกาล ผู้ให้เกียรติตอบตกลงมาร่วมเป็น 1 ในนักเขียนรับเชิญหนัง Domino Film ถัดจาก คุณ ปราบดา หยุ่น (และก่อนหน้านั้น คุณ แดนอรัญ แสงทอง, คุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี และ คุณ อุทิศ เหมะมูล)

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ปราบดา หยุ่น ร่วมแท็คทีม โดมิโน่


ด้วยความซาบซึ้งใจจากชาวฟิล์มไวรัส ขอขอบคุณ ปราบดา หยุ่น เจ้าของสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น และ นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2545 ที่ให้เกียรติตอบตกลงมาร่วมเป็น 1 ในนักเขียนรับเชิญหนัง Domino Film 

ผลงานเขียนเล่มล่าสุดของ ปราบดา หยุ่น รวมเรื่องสั้นชุด “ดาวดึกดำบรรพ์” (สำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น) และงานแปลนิยายคลาสสิกของ แอนโธนี่ เบอร์เจสส์ “คนไขลาน” (A Clockwork Orange) จากสำนักพิมพ์ไล้ท์เฮ้าส์ เล่มเดียวกับที่เคยทำเป็นหนังอื้อฉาวของ แสตนลี่ย์ คูบริค นั่นแหละจ๊ะ

งานเปิดตัวแถลงข่าว ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ - Domino Film Experiment Opening Day

งานเปิดตัวแถลงข่าว ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย 

Domino Film Experiment Opening Day, 25 April 

at William Warren Library, Jim Thompson House Gallery 
soi Kasemsun 2, Pathumwan (BTS National Stadium Station)

เปิดตัวแถลงข่าวสื่อมวลชน วันจันทร์ ที่ 25 เมษายน 2554 
เวลาบ่าย 3 โมงตรง ห้องสมุด วิลเลียม วอร์เรน, หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน 
ซอยเกษมสันต์ 2 (รถไฟฟ้าป้ายสนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน)

* * * ติดตามข่าวหนังโดมิโน่ 4 สหายที่ Domino Facebook นะคะ (คลิกบนภาพด้านขวา)

Follow Domino Film Updates on Facebook (please look on your right and click)

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

แผนงาน “ปฏิบัติการหนังโดมิโน่” ของ Filmvirus

แผนงาน “ปฏิบัติการหนังโดมิโน่” ของ Filmvirus
ในโครงการขั้นแรก หนังโดมิโน่จะประกอบไปด้วยหนังจำนวน 3 เรื่อง คือ

1. หนังจากโจทย์ของ แดนอรัญ แสงทอง
2. หนังจากโจทย์ของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี
3. หนังจากโจทย์ของ อุทิศ เหมะมูล

แต่ละเรื่องกำหนดงบประมาณสร้างไว้ที่ 500,000 บาท (ห้าแสนบาท)
แต่ละเรื่องประกอบด้วยผลงาน 4 ส่วนจากคนทำหนัง 4 คน ซึ่งมาร่วมใจ ต่อ-แต่ง – เพิ่มเติมเรื่องจากโจทย์และตัวละครดั้งเดิมของนักเขียนแต่ละท่าน

หนังเรื่องแรก (หนังโดมิโน่ เรื่องที่ 1) จะเริ่มสร้างจากโจทย์ต้นเรื่องของ แดนอรัญ แสงทอง ซึ่งในกรณีนี้เป็นบทหนังส่วนแรกความยาว 14 หน้า ที่ส่งมอบให้คนทำหนัง 4 คนไปสานต่อเรื่องจนจบเป็นเรื่องยาว

หากผลงานเรื่องแรกลุล่วง และมีทุนสมทบกำลังการผลิต จากนั้นจึงจะเริ่มดำเนินงานสร้างผลงานอันดับ 2 และ 3 นั่นคือเรื่องที่สร้างจากโจทย์ต้นเรื่องของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี และ อุทิศ เหมะมูล

ทั้งนี้ในผลงานสร้างลำดับถัดไป ทีมงานผู้กำกับทั้ง 4 คนอาจปรับแปลงจาก 4 คน เป็น 3 คน หรือสลับหน้าตาเป็นคนใหม่ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ความเหมาะสม และความร่วมใจสามัคคี

ระยะเวลาการทำงาน
ติดต่อขอรับทุนจากต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการขอรับทุนและเปิดรับบริจาคภายในประเทศ

เปิดรับทุนสนับสนุนภายในประเทศ นับจากวันนี้ – 15 มิถุนายน 2554
กำหนดการเปิดกล้อง 1 สิงหาคม 2554
ถ่ายทำเสร็จภายใน 1 กันยายน 2554
ช่วงโพสต์-โปรดักชั่น – 30 พฤศจิกายน 2554
ฉายเผยแพร่ครั้งแรก ภายในเดือน ธันวาคม 2554 ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ ปทุมวัน
(หมายเหตุ : กำหนดวันยังต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น)

แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เนื่องจากงบประมาณ 5 แสนบาท สำหรับการถ่ายทำหนังยาว 1 เรื่องนั้นย่อมไม่ใช่จำนวนที่มาก หากเทียบกับทุนสร้างหนังขนาดเล็กปกติ 15 ล้านบาท หรือหนังของค่ายใหญ่บางแห่ง 30 ล้านบาท-หลายร้อยล้านบาทขึ้นไป จำนวนเงินที่น้อยย่อมมีผลกดดันโดยตรงกับค่าใช้จ่ายในหนังทุกส่วน ตั้งแต่ อัตราค่าแรงทีมงาน นักแสดง ตารางการถ่ายทำแบบจำกัดวัน อุปกรณ์ การประสานงานกองถ่าย ฯลฯ

ดังนั้นเพื่อความซื่อสัตย์ในการจัดสรรค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องเป็นสัดส่วน เกิดความเชื่อมั่นระหว่างทีมงาน โปรดิวเซอร์ และผู้สนับสนุนทุกท่านที่เรายังไม่มีโอกาสได้รู้จักหน้าค่าตา ซึ่งสู้อุตส่าห์ให้ใจกับพวกเรามา ผู้กำกับทั้ง 4 คนจะพกสมุดบันทึกค่าใช้จ่ายของตัวเองคนละ 1 เล่ม โดยที่ทุกคนมีสิทธิ์บริหารเงิน และตรวจสอบบัญชีกับ เหรัญญิกประจำทีมงานฟิล์มไวรัส (โมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด) ตลอดกระบวนการผลิต ทั้งนี้ความสามัคคีระหว่างทุกฝ่ายเท่านั้นที่จะทำให้ปัญหาซึ่งเงินอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้หมด สามารถลุล่วงได้โดยตลอดลอดฝั่ง

ลักษณะธรรมชาติของภาพยนตร์ชนิดนี้
ดังที่บางท่านคงทราบดี หรือคงคาดเดาได้ไม่ยากว่า มันแทบเป็นสิ่งเหนือปาฏิหาริย์ที่จะคาดหวังให้คนทำหนังที่มีความแตกต่างกันมาก 4 คน เรียบเรียงเรื่องราวให้ออกมาสมบูรณ์กลมนวลเหมือนหนังที่ออกแบบและกำกับอย่างมีทิศทางชัดเจนเป็นหนึ่งเดียว อีกทั้งยังต้องถูกคาดหวังให้พยายามถ่ายทอดโจทย์ของนักเขียนต้นเรื่องอย่างซื่อสัตย์ ไม่บิดพริ้วในทุกกระเบียดนิ้ว

ฉะนั้นสิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่าและคนดูน่าจะคาดหวัง ก็คือการเห็นคนทำหนัง 4 คนพาหนังไปถึงจุดที่ไร้กระบวนท่าชนิด “อะไรก็เกิดขึ้นได้” กระตุ้นให้เกิดความรื่นเริงในกระบวนการสร้างดุจเดียวกับการค้นพบเกมใหม่ ใส่ใจกับการค้นหา มากกว่าการค้นพบ ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความสำคัญของการปรึกษาช่วยเหลืองานฉันท์มิตร พยายามรักษาและเคารพต่อองค์รวมทางศิลปะ ซึ่งต้องคงความสัมพันธ์สอดรับกับผลงานของเพื่อนร่วมเกมที่เดินทางร่วมกันมา โดยไม่ต่างกันนักจากหัวใจของดนตรีแจ๊ซ

ข้อเสนอการบริหารเงิน
หากรวบรวมจำนวนเงินได้ไม่ครบ 5 แสนบาท เราจะพยายามติดต่อหาทุนเพิ่มจากแหล่งต่าง ๆ ให้เต็มความสามารถ และหาวิธีทำหนังแบบประหยัดทุนให้ได้มากที่สุด และจะใช้ทิฐิมานะ (ดันทุรัง) เดินหน้าทำหนังต่อไป ซึ่งคงไม่ใช่ลักษณะเต็มสเกลในรูปแบบที่ตั้งไว้แต่แรก สรุป คือเราจะไม่ยกเลิกโครงการแต่เดินหน้าทำหนังเรื่องยาวต่อไป โดยปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นตามเงื่อนไขของงบประมาณและโอกาส ณ ขณะนั้น

ในกรณีของยอดเงินร่วมสนับสนุนเกินหลัก 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 5 พันบาท ตัวเลขจะถูกยกยอดให้เป็นค่าแรงของคนทำหนังทั้ง 4 คน และลูกทีม

ในกรณีของยอดเงินเกินหลัก 5 แสน 5 พันบาทขึ้นไป ตัวเลขจะถูกปันให้เป็นเงินทุนของหนังเรื่องถัดไป นั่นคือผลงานอันดับ 2 และ 3 ในตอนที่สร้างจากโจทย์ต้นเรื่องของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี และ อุทิศ เหมะมูล

วิธีสนับสนุนโครงการ
คุณ หรือหน่วยงานของท่าน สามารถส่งตัวเลขสมทบทุนโดยการโอนเงินเข้าบัญชีในนาม :
สนธยา ทรัพย์เย็น ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 183-2-08740-2

หลังจากโอนเงินแล้ว กรุณาส่งสำเนาใบนำฝากแจ้งให้เราทราบทางอีเมล filmvirus@gmail.com (หรือ filmvirus@yahoo.com) หรือ ทางแฟกซ์ที่เบอร์ 02-925-0141, หรือโทรศัพท์แจ้งทางมือถือ 086-490-6295 หลังจากนั้นเราจะบันทึกชื่อของท่านลงบล็อกภายใน 3 วัน นับจากที่ได้รับแจ้ง และอย่าลืมกรุณาระบุ ชื่อ-นามสกุลจริง หรือชื่อของหน่วยงานผู้สนับสนุน พร้อมที่อยู่และเลขที่บัญชี (ในกรณีที่ต้องติดต่อส่งเงินคืนหากทุนสร้างไม่พร้อม) ทางผู้จัดงานขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนครับ

การสนับสนุนด้านอื่น
ขณะนี้เรายังต้องการความสนับสนุนในอีกหลายด้าน ทั้งในส่วนของแรงงาน อุปกรณ์ (ขณะนี้ยังไม่มีอุปกรณ์กล้อง) ผู้ร่วมแสดง ทีมงาน และสถานที่ หากใครสนใจช่วยเสริมงานด้านนี้โดยไม่หวังผลตอบแทนนอกจากการรับประทานข้าวหม้อเดียวกัน สามารถติดต่อเราได้เช่นกัน

(โปรดติดตามอ่านรายนามผู้ร่วมลงทุนที่จะนำมาทยอยลงที่ด้านล่างบล็อกนี้)

น้ำใจให้ “ปฏิบัติการหนังโดมิโน่” - To Support Domino Film Experiment

“ปฏิบัติการหนังโดมิโน่” เกิดขึ้นเพื่อรณรงค์การสนับสนุนหนังนอกระบบธุรกิจ ซึ่งไม่เกี่ยวกับระบบกู้ยืมหรือการลงทุนเพื่อหวังกำไร น้ำใจในการสนับสนุนหนังที่ทุกท่านส่งมา เราขอน้อมรับความกรุณาปราณีไว้ด้วยความตื้นตันใจ และจะนำไปปลุกขวัญกำลังใจทีมงาน ให้สร้างผลงานออกมาสุดฝีมือ และนำออกเผยแพร่ในวงกว้างให้ได้มากที่สุด ตามที่ท่านได้ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ อย่างไรก็ตามเราขอแจ้งล่วงหน้าให้ทราบก่อนว่า จะไม่มีการจ่ายคืนทุนสร้างในลักษณะใดๆ หรือรวมถึงการมอบลิขสิทธิ์หนัง ให้กับผู้สนับสนุนแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่จะตอบแทนเป็นสิ่งอื่นตามคำอธิบายดังต่อไปนี้

(หมายเหตุ: หากมีเหตุอันใดที่ทำให้ไม่สามารถรวบรวมทุนได้ใกล้เคียงสัดส่วน 5 แสนบาท ตามวงเงินทุนสร้างของหนังแต่ละเรื่อง เราจะดำเนินการคืนเงินและล้มเลิกโครงการ)

Domino Film Experimental Project is an alternative form of commerce and patronage, not a place for investment or lending. We wish to inform you that any kind of funding here is not involved giving up ownership or financial returns.

เรารู้สึกซาบซึ้งในทุกน้ำใจของทุกท่านที่ส่งกำลังใจมาร่วมบริจาค ทุกรายชื่อที่มีส่วนร่วมจะปรากฏบนเครดิตบล็อก พร้อมยอดเงินที่ร่วมสนับสนุน
The heartfelt appreciation of the entire FILMVIRUS team, and our sincerest thanks for your participation in this project!

ประเภทที่ 1 ร่วมเชียร์ (ตั้งแต่ 300 บาท ขึ้นไป)
เรารู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่คุณมอบเกียรติเป็นแสงสว่างในการวางโดมิโน่ชิ้นแรก และจะเรียนเชิญชื่อของคุณมาประดับบนบล็อกของเรา พร้อมยอดเงินที่ร่วมสนับสนุน

Level 1 - Cheerleaders (Pledge 300 baht or more.)
A heartfelt “thank you” from the Filmvirus team. We will list your name as a Domino backer on our blog since you are the first light that shines in and lets us take our very first steps.

ประเภทที่ 2 ร่วมสนับสนุน (ตั้งแต่ 5, 000 บาท ขึ้นไป) 
เรารู้สึกประทับใจในความเอื้ออารีของคุณอย่างยิ่ง เราจะใส่ชื่อคุณในเครดิตบล็อก พร้อมยอดเงิน และคำขอบคุณในเครดิตท้ายเรื่อง

Level 2 – SUPPORTER (Pledge 5,000 baht or more.)
We are impressed with your great trust in us and we will add your name to the "Thank You" end credit of the film as well as on our blog as a supporter.

ประเภทที่ 3 สปอนเซอร์ (ตั้งแต่ 10, 000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) ขึ้นไป) 
เรารู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจของคุณอย่างสุดแสน เราจะใส่ชื่อคุณหรือหน่วยงานของคุณในเครดิตบล็อก พร้อมยอดเงินที่ร่วมสนับสนุน และใส่ชื่อคุณหรือหน่วยงานของคุณในเครดิตท้ายเรื่องในฐานะ “ผู้สนับสนุนโครงการ” รวมทั้งระบุชื่อบนเอกสารแจกประชาสัมพันธ์หนังให้สื่อมวลชน 

Level 3 – SPONSOR (Pledge 10, 000 baht or more.)
We are so delighted by your warm support and we will give you a listing on the film credits and website, as "Made with support of" end credit, which will appear at the end of the film, and will also appear on our blog, and any other related promotional material.

ประเภทที่ 4 ผู้ค้ำจุน (ตั้งแต่ 50, 000 บาท (ห้าหมื่นบาท) ขึ้นไป)
เราจะเอ่ยความรู้สึกเต็มตื้นของเราเป็นคำอย่างไรดี เรายืนยันว่าจะใส่ชื่อคุณในเครดิตบล็อกพร้อมยอดเงินที่ร่วมสนับสนุน และใส่ชื่อคุณหรือหน่วยงานของคุณในเครดิตหนังท้ายเรื่องในฐานะ “ผู้ค้ำจุน” และระบุชื่อบนเอกสารแจกประชาสัมพันธ์สำหรับสื่อมวลชน รวมทั้งเชิญคุณมาดูหนังในรอบปฐมทัศน์และรอบต่อๆ ไป  

Level 4 PATRON (Pledge 50, 000 baht up)
We can never be able to explain our deepest sincere appreciation for your warmest and heartfelt support in our project! We will give you a listing as a patron, which will appear at the end of the film, and will also appear on our blog, and any other related promotional material. We will also offer you an invitation to the film's opening and future screenings.

ประเภทที่ 5 ผู้อำนวยการสร้าง (ตั้งแต่ 100, 000 บาท (หนึ่งแสนบาท) ขึ้นไป) 
ทุกข์กังวลในเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของเราคงจะปลาสนาการหายไปสิ้น และนั่นจะทำให้เรามีเวลาใส่ใจกับคุณภาพของหนังได้มากขึ้น โดยไม่ต้องมาคอยเหลียวหลังกังวลอย่างที่แล้วมา เรารู้สึกตื้นตันและสุดปีติในมิตรภาพของคุณ โดยจะมอบดีวีดีที่ระลึกของภาพยนตร์ และใส่ชื่อคุณในเครดิตบล็อกและใส่ชื่อคุณหรือหน่วยงาน / ผลิตภัณฑ์ ก่อนชื่อหนังในฐานะหนึ่งใน “ผู้อำนวยการสร้าง” คนสำคัญ อีกทั้งระบุชื่อบนเอกสารแจกประชาสัมพันธ์ รวมถึงเชิญมาดูหนังฉบับตัดต่อก่อนฉายจริง โดยสามารถเสนอความเห็นต่อทีมงานสร้างเพื่อการปรับปรุงหนังต่อไป รวมทั้งเชิญคุณมาชมภาพยนตร์ในส่วนที่นั่ง VIP ในการฉายรอบปฐมทัศน์และรอบอื่นๆ  

Level 5 PRODUCER (Pledge 100,000 Baht up)
All irksome worries vanish away in the face of your confidence inspiring presence. It enables us to focus more on the quality of the film. We will give you all of the above offers as well as one of the principal PRODUCERS of the film (listing above the title of the film), DVD and blog. In addition to a limited edition first-run DVD of the film, the FILMVIRUS team will be honoured to invite you, and your guest, to FILMVIRUS’ pre-screening when the film is finished. This will be an intimate, private showing of the film, aimed at vetting a first cut to industry and press professionals, and to celebrating its completion amongst friends. Your ideas will be consulted by the filmmakers for any improvement. You'll also receive VIP invitations to the opening’s ceremony of the film and any future festival screenings.

รายนามผู้สนับสนุน - Supporters' Names และบัญชีโอนเงิน (Domino Film Experiment’s Bank Account)

ที่จริงเขียนรายละเอียดการโอนเงินไว้ที่จุดอื่นแล้ว แต่หลายคนคงไม่เห็น เลยเอามาแปะที่นี่ใหม่

รายละเอียดประเภทของเงินสนับสนุน (Types of Pledges)


http://dominofilm.blogspot.com/2011/04/how-to-support-domino-film-experiment.html



โอนเงินเข้าบัญชีที่
: สนธยา ทรัพย์เย็น ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 183-2-08740-2

Domino Film Experiment’s Bank Account


please address to: Mr. Sonthaya Subyen


Siam Commercial Bank, Central Pinklao
Savings account No. 183-2-08740-2
หลังจากโอนเงินแล้ว กรุณาส่งสำเนาใบนำฝากแจ้งให้เราทราบทางอีเมล filmvirus@gmail.com (หรือ filmvirus@yahoo.com) หรือ ทางแฟ็กซ์ที่เบอร์ 02-925-0141, หรือโทรศัพท์แจ้งทางมือถือ 086-490-6295 หลังจากนั้นเราจะบันทึกชื่อของท่านลงบล็อกภายใน 3 วัน นับจากที่ได้รับแจ้ง และอย่าลืมกรุณาระบุ ชื่อ-นามสกุลจริง หรือชื่อของหน่วยงานผู้สนับสนุน พร้อมที่อยู่และเลขที่บัญชี (ในกรณีที่ต้องติดต่อส่งเงินคืนหากทุนสร้างไม่พร้อม) ทางผู้จัดงานขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนค่ะ

After you made a transfer, please notify us by E-mail (filmvirus@gmail.com or filmvirus@yahoo.com or Fax: 02-925-0141, or by text message on mobile phone: 086-490-6295.

สำหรับการสนับสนุนด้านอื่น เช่น ในส่วนของแรงงาน อุปกรณ์ ผู้ร่วมแสดง ทีมงาน และสถานที่ หากใครไม่หวังผลตอบแทนนอกจากการรับประทานข้าวหม้อเดียวกัน สามารถติดต่อเราได้เช่นกัน

Other contributions involved instrument loans, cast, film crews, etc. are also welcomed.

รายนามทั้งหมด (เรียงลำดับวัน)
Supporters’ Names



(หมายเหตุ: เป็นความประสงค์ของผู้สนับสนุนบางท่านที่ไม่ต้องการจะระบุจำนวนเงิน ดังนั้นต่อไปนี้เราจะขอลงเฉพาะยอดรวมของจำนวนเงินทั้งหมดแทน ยกเว้นหน่วยงานหรือบริษัทที่จะคงตัวเลขไว้ แต่หากบุคคลใดอยากให้ระบุตัวเลขบริจาคของตัวเอง โปรดแจ้งให้เราทราบด้วย)


* 2 April 2011
1. อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (Advisor โครงการหนังโดมิโน่) ในนามของบริษัท Kick The Machine
2. สนธยา ทรัพย์เย็น (เจ้าของโครงการหนังโดมิโน่) ในนามของ Filmvirus
* 5 April 2011
3. ทรงยศ แววหงษ์ นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ผู้บุกเบิกวิกโรงหนังรังไข่ ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ทับแก้ว และเป็นผู้จัดรายการ “คุยกับหนัง” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ และยังเป็นผู้แต่งหนังสือ “คุยกับหนัง”
* 7 April 2011
4. โมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด แม่ค้าหนังสือ
* 9 April 2011
5. 'กัลปพฤกษ์' นักวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลหม่อมหลวงบุญเหลือ ปี 2547 และผู้แต่ง Asia 4, Queer Cinema for All และ “อนุทินรัก แอร์ฤกค์ โรห์แมร์”
* 12 April 2011
6. จิตร โพธิ์แก้ว คอหนังตัวจริงเจ้าของบล็อก Limitless Cinema
* 13 April 2011
7. ขอขอบคุณทีมงานหอศิลป์ Jim Thompson Art Center และห้องสมุด William Warren สำหรับการเอื้อเฟื้อสถานที่ และอำนวยการรับรองแขกเหรื่อและสื่อมวชน สำหรับงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการหนังโดมิโน่
8. Roger Tonge, a former Executive Producer of BBC Television / Director of acclaimed
TV films such as WIDE GAMES and TWO OF US.
* 14 April 2011
9. คุณ วรงค์ หลูไพบูลย์ นักอ่านและคอหนังคนขยัน
* 17 April 2011
10. คุณ คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง (Merveillesxx) นักเขียนและนักวิจารณ์อิสระ / อาจารย์พิเศษทางภาพยนตร์ ผู้ได้รับรางวัลวิจารณ์ของหม่อมหลวงบุญเหลือ ปี 2553 และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Third Class Citizen
* 27 April 2011
11. คุณ สุนทรี พโนรัตน์ หมอน 100 ปี
* 28 April 2011
12. วิกหนังรังไข่
* 30 April 2011
13. พลี ทรัพย์เย็น
* 1 May 2011
14. ด.ญ. สุฐิตา คุปติอัครภิญโญ
* 2 May 2011
15. ธีระเพลส บ้านฉาง จ. ระยอง
* 4 May 2011
16. อาดาดล อิงคะวณิช นักวิชาการภาพยนตร์
* 14 May 2011
17. จิตรลดา อุดมประเสริฐกุล
* 15 May 2011
18. สองแม่เด็กชาย คนุ
* 6 June 2011
19. Malee Berking

* 7 Aug 2011
20. ขอขอบคุณหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และทีมงาน สำหรับการเอื้อเฟื้อสถานที่เพื่อเป็นออฟฟิศให้โครงการหนังโดมิโน่เป็นเวลา 1 เดือน

* 10 July 2013
21.  ไกรวุฒิ จุลพงศธร


รวมยอดเงิน ณ ขณะนี้ = 109,424 บาท