ของเหลวแห่งแสงอันเป็นภัยใกล้ตัวของยายหมอน
โดย Filmsick
(บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Vote ติดต่อกัน 3 ฉบับระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554)
แนวคิด Domino Effect = 4 ผู้กำกับวิ่งหนัง 4 x 100 ผลัดกัน แต่ง-ต่อ-เติม ทำหนังคนละเรื่องเดียวกัน
หัวใจของโดมิโน่ ฟิล์ม
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ของเหลวแห่งแสงอันเป็นภัยใกล้ตัวของยายหมอน
ยายหมอนนั้นอาศัยอยู่ในสลัมซึ่งข้างๆ บ้านของแกนั้นเป็นที่รกร้าง แกเรียกมันว่าเป็นสวนของแก สวนซึ่งบางวันคนข้างบ้านก็มาเล่นเป็นนายทหารต่อต้านสงครามอิสราเอล ปาเลสไตน์ วันหนึ่งยายหมอนพบว่าข้างบ้านแกมีคนมาสร้างพิพิธภัณฑ์อะไรก็ไม่รู้ในชั่วข้ามคืน ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑ์แห่งแสง แต่ในพิพิธภัณฑ์กลับมืดสนิท ยายหมอนเดินเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์โดยการคลำทางไปในความมืด มีแสงไฟฉายส่องใบหน้าของแกที่เดินเข้าไปในความมืด แกหลงทางวนเวียนอยู่ในนั้น แล้วกลับมาโผล่ออกที่ดอนเมือง โดยไม่รู้ตัว การท่องพิพิธภัณฑ์ของแกโดนบันทึกภาพไว้โดยนักศึกษาคนหนึ่ง เขาเอาเรื่องของแกไปตัดต่อเป็นหนังสยองขวัญส่งอาจารย์ โดยทำลายขนบหนังสยองขวัญทั้งหมดที่เคยมีลง ผลก็คืออาจารย์โมโหมากไอ้เด็กสอนไม่รู้จักจำ อาจารย์เผลอหลุดสบถ ขณะคอมเมนท์งานซึ่งไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะแกคันคะเยอจากอาการผื่นแพ้ หรือเพราะโมโหกันแน่ อาจารย์คอมเมนท์ทุกฉากในหนังเรื่องนั้น คอมเมนท์ดุเดือดจนน่าตระหนกตกใจราวกับแกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ หลังเสร็จงานอาจารย์ไม่สามารถทนอาการคันคะเยอได้อีกต่อไป เขาไปพบหมอผู้ซึ่งบอกว่าปัญหาของเขาเกิดจากภาวะภูมิไวเกินต่อสารคัดหลั่งของชายคนรัก นั่นยิ่งทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างแย่ลง หนังแย่ยายแก่ของลูกศิษย์ที่เขาไม่ชอบหน้า อาการคันคะเยอไม่รู้จบ คนรักที่ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงบ่ายเบี่ยงไม่ยอมมีอะไรด้วยทำให้ทุกอย่างแย่ลงไปอีก ถึงที่สุดอาจารย์คนดังกล่าวจึงออกไปข้างนอกและถูกงูผีกัดตาย
ข้างบนนั่นไม่ใช่เรื่องย่อของหนังสั้นเรื่องใหม่ของใครทั้งสิ้น หากมันคือการจับเอาหนังสั้นจำนวนหนึ่งของผู้กำกับ 4 คนที่เรากำลังจะกล่าวถึงมายำร้อยเรียงรวมกัน แถมด้วยบางฉากบางตอนจากบทประพันธ์ของนักเขียนนามอุโฆษ 5 ท่าน คือ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, แดนอรัญ แสงทอง, อุทิศ เหมะมูล, ปราบดา หยุ่น และ อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนนามอุโฆษเหล่านี้ผู้ซึ่งจะมอบต้นฉบับมาเป็นหัวเชื้อในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์แบบโดมิโน อันหมายความว่าผู้กำกับทั้งสี่ (เจ้าของหนังสั้นที่เรายืมพล็อตมาเรียงใหม่ด้านบน) จะลงมือร้อยต่อเรื่องราวจากต้นทางสร้างขึ้นเป็นหนังส่วนแรกและส่งไม้ต่อไปให้ผู้กำกับคนต่อไปได้สานเรื่องเดิมต่อจนกลายเป็นหนังยาว 1 เรื่อง ภายใต้กรอบจำกัดของตัวละครชุดเดิม แต่เรื่องสามารถขยายออกไปได้หลากมิติ เราเรียกโปรเจคต์นี้กันสั้นๆ ว่า โดมิโปรเจ็คต์ ซึ่งทุกท่านสามารถอ่านเกี่ยวกับโปรเจ็คต์ดังกล่าว รวมถึงร่วมมือลงขันสนับสนุนโปรเจ็คต์นี้ได้ที่บล็อกนี้ http://dominofilm.blogspot.com/ หรือโทร ฟิล์มไวรัส – 086-490-6295, 02-925-0141
แต่หากประวัติของผู้กำกับที่คุณได้จากข้อมูลในบล็อกของโปรเจ็คต์ยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ ผมขออนุญาตรับหน้าที่ขยายความถึงความน่าสนใจของผู้กำกับแต่ละคนที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน แต่ได้มาวนเวียนมีส่วนร่วมอยู่ในงานชิ้นนี้
ของเหลวที่หลั่งจากจักรวรรดิทางภาษาของชุติมา
เด็กผู้หญิงที่ค้นพบว่าย่าสั่งซื้อดิลโดทางไปรษณีย์ และได้รับค่าจ้างจากคุณย่าในการทำให้นางอิ่มซึ้งถึงเพศรส เด็กสาวที่นอนกับผู้ชายไปทั่ว และแทนที่จะรับค่าจ้างกลับยินดีจ่ายให้ชายที่มานอนกับเธอ เธอแท้งตอนเคารพเพลงชาติและไม่ได้ยี่หระกับคุณค่าความเป็นหญิงอื่นใด ศิลปินสาวแม่นางแก้วมังกรที่เปิดบ้านให้ผู้ชมได้พบกับงานศิลปะชิ้นใหม่นั่นคือการเดินเข้ามารับชมเธอ, ศิลปินกระทำการช่วยตัวเอง หรือคู่รักชายชายที่กำลังเจอมรสุมชีวิตรักเนื่องจากฝ่ายหนึ่งเกิดอาการผื่นแพ้รุนแรงต่อสารคัดหลั่งจากร่างกายของอีกฝ่ายหนึ่ง เหล่านี้คือบรรดาตัวละครพิลึกพิลั่นของรัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค
ผู้หญิงและประเด็นทางเพศของเธอ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่วนเวียนอยู่ในหนังของรัชฎ์ภูมิมาตลอด ตัวละครหญิงของเขาก้าวข้ามเส้นขีดแบ่งทางศีลธรรมอย่าสนุกสนานและไม่ยี่หระใน ‘Ma vie incomplet et inachevee’ ที่เล่าเรื่องแบบสุดกู่ ทั้งการมีเซ็กส์กันในครอบครัว การมีเซ็กส์ของเด็กและคนแก่ อาการวิปริตของผู้คนในครอบครัว แถมทั้งหมดยังมาในรูปอนิเมชั่นสีสันสดใส พากย์เสียงภาษาฝรั่งเศส ส่วน ‘ชุติมา’ มีพล็อตว่าด้วยสาวสกอยท์กับความเป็นหญิงขาย(ซื้อ)บริการและความเป็นแม่ของเธอ ส่วน ‘ออกเสียงไม่ได้ในจักรวรรดิทางภาษาของคุณ’ ก็ล้อเล่นกับพรมแดนของศิลปะและความเป็นหญิง กระทั่งใน ‘ของเหลวที่หลั่งจากกาย’ หนังยาวสำหรับจบการศึกษาของรัชฏ์ภูมิ ที่มีตัวละครหลักเป็นคู่รักเกย์ เรายังสามารถพบเจอตัวละครหญิงอย่างคุณหมอในชุดส่าหรีเก๋ไก๋ ที่ก้อร่อก้อติกคนไข้แบบเปิดเผยตรงไปตรงมา ไหนจะการ ‘แฉนางชี’ที่ทนทุกข์เพราะบังเกิดความใคร่ในสถานภาวนาอีกเล่า!
แน่นอนว่านี่สุ่มเสี่ยงจะเป็นเพียงแฟนตาซีเพ้อฝันของผู้ชาย แต่ในทุกตัวละครหญิงของรัชฏ์ภูมิล้วนไม่มีประนีประนอม พวกเธอก้าวล้ำข้ามเส้นโดยไม่ได้เป็นตัวตลกเปิ่นเป๋อ (มันจะถูกนำเสนอออกมานเชิงขบขัน) ในทางตรงกันข้ามการกระทำของพวกเธอนั้น เข้าขั้นท้าทายการรับรู้ความเป็นหญิงของสังคมหลัก การนิยามเป้าหมาย หน้าที่ของความเป็นหญิงในสังคมชายเป็นใหญ่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่รัชฏ์ภูมิสนใจเป็นอย่างยิ่ง
หากเลยพ้นไปจากหนัง ตัวหนังสั้นของรัชฏ์ภูมิยังเกาเกี่ยวอยู่กับสุนทรียศาสตร์พิศวงผิดที่ผิดทางอีกด้วย ในหนังของเขามีทั้งอาการแผ่นกระตุกโดยตั้งใจที่ส่งผลไปถึงชีวิตตัวละคร มีสิ่งประหลาดๆ อย่างเช่นการตัดต่อที่ไม่เนียนโดยจงใจให้เห็นว่าเป็นหนัง การที่ตัวละครพากันทำกิจกรรมพิลึกพิลั่น อย่างไร้ที่มาที่ไปไร้เหตุไร้ผล ไม่เกี่ยวข้ออันใดกับตัวเรื่อง หรือกระทั้งฉากแทรกสอดที่โผล่พรวดเข้ามากลางเรื่องแล้วจากไปโดยไม่บอกกล่าว (เช่นอยู่ดีๆกล้องก็ถ่ายตัวละครผ่านการเทน้ำใส่แก้วทีละน้อยจนเต็ม หรือการที่ภาพเขียนที่ฝาผนังเคลื่อนขึ้นลงไปมาซ้ายทีขวาทีในทุกครั้งที่มีการตัดต่อ) การแสดงให้เห็นว่าเป็นหนัง การเอาแน่เอานอนออะไรไม่ได้ การเอาแต่ใจในตัวเรื่องทำให้หนังของรัชฏ์ภูมิดูเหมือนจะจู่ๆ สร้างเรื่องเล่าซ้อนเป็นฟิล์มบางๆ อีกชั้นขึ้นเคลือบคลุมชั้นของตัวเรื่องเดิม นั่นคือการถามหาตำแหน่งแห่งที่ในความเป็น ‘แค่เรื่องเล่า’ ของตัวเรื่องเล่านั้นเอง
ฆาตรกรรมสวาทประหลาดเปรูทำให้ซาตานหายตัวไปในพิพิธภัณฑ์แห่งแสง
เฉลิมเกียรติ แซ่หย่องเริ่มปรากฏตัวในเทศกาลหนังสั้นสองปีก่อนกับหนังประหลาดๆที่ชื่อ PERU TIME (กู่ก้องร้องบอกรักนิรันดร)ที่เป็นเพียงการถ่ายภาพของทุ่งหญ้าริมทางอันมีปั้นจั่นยักษ์เคลื่อนไหวอยู่ไกลๆ กล้องตั้งนิ่งยาวนานตลอดเวลาเกือบแปดนาที ฉากเดียวเดี่ยวโดดแทรกด้วยการขึ้นตัวหนังสือภาษาต่างดาววกไปวนมา หนังทำให้หลายคนเหวอ หลายคนปฏิเสธ และหลายคนตื่นเต้น ตามด้วย ‘ฆาตรกรรมสวาท ประหลาดน่านฟ้า ทำให้คนหายตัวไป’ หนังยอกย้อนซ่อนกลที่อุดมไปด้วยการขึ้น text แสร้งให้เห็นว่าห้องน้ำมหาวิทยาลัย เป็นห้องน้ำในสนามบินสุวรรณภูมิ เด็กนักศึกษาเป็นแอร์โฮสเตส และเล่าคดีฆาตกรรมลึกลับกับแบบต่อหน้าต่อตาโดยผ่านการขึ้นข้อความขึ้นซับไตเติ้ล สับสนวกวนยอกย้อน ในปีต่อมา เฉลิมเกียรติไปไกลมากขึ้นด้วย ‘คำพิพากษาของซาตาน’ หนังที่เล่าเรื่องเขาพระวิหาร สัตว์สูญพันธ์ กรณีพิพาทเหลืองแดง โดยอาศัยภาพแทนประหลาดๆ อย่างเช่นชายผู้ถูกยิงตายในทุ่งร้างข้างบิ๊กซี (ขึ้นข้อความว่าประเทศในแถบอเมริกาใต้) หรือเด็กหนุ่มสาวในห้องโรงแรม คุณป้ารีดผ้า สลับกับข้อความจากเวบบอร์ดในเรื่องต่างๆ และคำอธิบายเกี่ยวกับสัตว์สงวนปรากฏเป็น text ซ้อนมา ใน ‘สถานต่างอากาศ’ เขาถ่ายภาพโฮมวีดีโอโดยใช้กล้องทุกรูปแบบที่หาได้ และในสารคดี ‘บางคนที่ตกค้างอยู่ในความทรงจำ’ เฉลิมเกียรติทำสารคดีเกี่ยวกับดอนเมือง โดยขึ้นเป็น text ให้ทุกคนอ่านจนจบ แนบบทสัมภาษณ์ในครึ่งแรก ก่อนที่ครึ่งหลังหนังจะเป็นเพียงภาพล้วนๆของการหวนหาอาลัย ทั้งสถานที่ ผู้คน ความทรงจำซึ่งในเวลาต่อมาเขาให้สัมภาษณ์ว่า เขาทำหนังเรื่องนี้เพราะในช่วงเวลานั้นพ่อกับแม่ของเขาได้ขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรกในชีวิต ขณะเดียวกันหญิงสาวที่เขาเคยแอบชอบ มีความใฝ่ฝันจะเป็นแอร์โอสเตส หนังจึงกลายเป็นภาพของความทรงจำอันแสนหวาน แตกหักกับงานสารคดีที่ท้าทายขนบสารคดีในคราวเดียว และล่าสุดใน พิพิธภัณฑ์แห่งแสง เฉลิมเกียรติใช้ความมืดเป็นแก่นแกนหลักในการฉายภาพผู้คนที่พากันไปส่องไฟฉายดูพิพิธภัณฑ์แสงในความมืดมิด การเล่นซ้ำไปซ้ำมาของฟุตเตจเดิมสลับตำแหน่งแห่งที่ และความมืดอันเข้มข้น
อาจจะบอกได้ว่าเขาทำหนังประหลาด ที่ดูเหมือนคนทำหนังไม่เป็น การขึ้นข้อความแทนการลำดับภาพอาจทำให้ใครต่อใครพากันมองว่าหนังของเฉลิมเกียรตินั้นอ่อนด้อย หากสิ่งที่น่าสนใจในหนังของเฉลิมเกียรติก็คือการเล่นกับตัว text นั้นอยู่เอง ขอบเขตของ text ในสื่อภาพยนตร์ text ของเฉลิมเกียรติ เป็นทั้งผู้เล่า ในขณะเดียวกันก็รับหน้าที่ดึงคนดูออกจากการเล่า text ในฆาตรกรรมสวาท ทำหน้าที่บอกตำแหน่งแห่งที่ เล่าเรื่อง ขณะเดียวกันก็ยั่วล้อตัวมันเอง (เช่นการขึ้น text ให้เห็นว่านี่เป็นแผ่นผีจากร้านดีวีดี) ขณะที่ คำพิพากษา text สร้างเรื่องเล่าอีกชุดซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกันกับภาพที่กำลังรับชมและไม่ได้มีหน้าที่สร้างเรื่องเล่าให้ภาพด้วยซ้ำ เป็นเพียงการปรากฏซ้อนของถนนสองสายที่มาบรรจบกันกลายเป็นการตีความใหม่ ก่อนที่มันจะไปสุดทางใน บางคนที่ตกค้างในความทรงจำ ที่เปิดเผยให้เห็นว่า text คือปัญหาที่ควรขจัดออกไป กล่าวให้ถูกต้องถ้า text ในหนังเฉลิมเกียรติคือตัวเล่าเรื่อง ซึ่งการเล่าเรื่องไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่คือปัญหากีดขวางการใช้ภาพของเขา
หนังของเฉลิมเกียรติมักชวนพิศวงงงวย มันมีความเป็นหนังการเมือง (หนังหลายเรื่องของเขาซ่อนนัยยะทางการเมืองไว้อย่างน่าสนใจ) แต่ก็มีความเป็นหนังทดลอง มีความเป็นหนังนักศึกษาที่ทำหนังไม่เป็น กับหนังของคนทำหนังที่พยายามไปให้พ้นจากกรอบข้อบังคับของความเป็นหนัง ระหว่างความอ่อนด้อยในการเล่ากับความกล้าหาญท้าทาย นั่นคือที่ที่หนังประหลาดของเฉลิมเกียติ กู่ก้องร้องบอกรักความทรงจำที่มีต่อผู้คน ภาพนิ่งเฉย และบรรยากาศลึกลับที่หาชมได้ยากยิ่ง
ความทรงจำเกี่ยวกับภัยใกล้ตัวของเจ้าหญิงนิทราที่ร้องคาราโอเกะเพลงบ้านทรายทองในร้านแถบหัวลำโพง
นี่คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ในหนังของจุฬญานนท์ ชายชราถ่ายรูปตัวเองที่สถานีรถไฟหัวลำโพง คนรับใช้ชาวพม่าห่อแหนม ผู้คนในบ้านพากันหลับใหลไปหมด วัตถุทรงกลมหน้ากล้องที่อาจจะมาจากแสงสะท้อน ข้อสอบที่เอามาขึ้นจอกันให้ลองทำเล่นๆ คาราโอเกะ และภาพขาวดำถ่ายชุมชนนางเลิ้ง ภาพของจุฬญานนท์ไม่อาจเป็นหลักประกันต่อเรื่องที่เขาเล่าได้จริงๆ หรอก เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูหนังของจุฬญานนท์คือการปะทะสังสรรค์ของจินตนาการจากภาพที่เรามองเห็นต่างหาก
เราอาจแบ่งหนังจุฬญานนท์คร่าวๆ ได้เป็นสองช่วง ในหนังช่วงแรกที่เขาทำสมัยอยู่มัธยมอย่าง หัวลำโพง หนังสังเกตการณ์ชายชราคนหนึ่งที่มาถ่ายภาพตัวเองที่หัวลำโพง บ้านทรายทอง เรื่องเล่ากึ่งสารคดีที่รีเมคบ้านทรายทองใหม่โดยใช้คนในครอบครัวของเขามาเป็นนักแสดง แล้วยังถ่ายทำอยู่ในบ้านของตัวเอง และ เจ้าหญิงนิทราที่เป็นเหมือนการบรรจบระหว่างหัวลำโพงกับ บ้านทรายทอง เมื่อเขาทำเพียงแค่แอบถ่ายชีวิตประจำวันของคนในบ้าน แอบถ่ายคนในครอบครัวนอนหลับ และปล่อยให้ผู้ชมร่างเรื่องราวขึ้นมาเองในหัว หนังในยุคนี้ของจุฬญานนท์เป็นภาพสังเกตที่สามัญ ภาพที่ปะปนระหว่างการแอบถ่ายกับการจัดเรื่องจัดราวนิดหน่อย (ในบ้านทรายทอง เขาให้คนรับใช้ชาวพม่ามารับบทพจมาน และเอาพ่อของเขาเองมาเล่นบทชายกลาง อาการประดักประเดิดเขินกล้องของตัวละครถูกบันทึกเอาไว้ด้วย และคนดูก็ต้องประดอบสร้างเองว่าใครเป็นใครในบ้านทรายทองนี้) ภาพการสังเกตของจุฬญานนท์ อาจดูเหมือนไม่มีอะไรพิสดารพันลึกแต่การทิ้งพื้นที่โดยมีลายแทงเป็นชื่อเรื่องทำให้ผู้ชมค่อยๆสานเสริมเติมต่อจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องเล่าขึ้นมาเองจากภาพที่มี
ในช่วงเวลาต่อมาจุฬญานนท์เริ่มเข้าสู่การเป็นหนังทดลองมากขึ้น เริ่มจากงานกึ่งวีดีโออาร์ตอย่างวัตถุทรงกลมที่เพียงถ่ายแสงสะท้อนจากหน้ากล้อง จนมาถึง ภัยใกล้ตัว(ฉบับผู้กำกับ) หนังที่กล้าหาญร้ายกาจที่สุดเรื่องหนึ่งของเขา หนังแสดงภาพความอึดอัดขัดข้องที่เขามีต่อระบบการศึกษาภาพยนตร์ในเมืองไทยด้วยการเอาหนังที่เขาทำส่งครูมาใส่คอมเมนต์ทั้งหมดทั้งหมดที่ครูคอมเมนท์มา ในทุกๆ ฉาก ตัวหนังสือข้อคอมเมนต์ของอาจารย์จะขึ้นมาชี้ช่องให้ผู้ชมเห็น ตัวหนังเป็นทั้งการตบตีต่อขนบของการทำหนังที่น่าเบื่อ คาดเดาได้ ในขณะเดียวกันมันคือการตอบโต้ต่อระบบการเรียนการสอนที่ปิดกั้นจินตนาการผู้คนอย่างร้ายกาจ หนังจบลงด้วยภาพรูปนักศึกษาของเขาเองที่ค่อยๆไหม้ไฟไปทีละน้อย
หนังในช่วงหลังของจุฬญานนท์ขยับขยายมาสู่แง่มุมทางการเมืองมากขึ้น คาราโอเกะเพลงแผ่เมตตาเป็นการแสดงมุมมองทางการเมืองต่อเสื้อสองสีที่หยิบมาเสียดสีได้อย่างขบขัน (แม้อาจจะชวนให้รู้สึกถึงความไร้เดียงสาอยู่บ้าง) หากใน แบบทดสอบวิชาการเมืองไทยร่วมสมัย จุฬญานนท์ก็ร้ายกาจพอจะโยนคำถามแสบทรวงใส่หน้าผู้ชมโดยการทำหนังให้เป็นเหมือนพาวเวอร์พอยท์ข้อสอบ ว่าด้วยการเมืองไทยร่วมสมัย ก่อนที่เขาจะทำสารคดีที่หนักหน่วง ร้ายกาจและทรงพลังอย่าง ประวัติย่อของความทรงจำ ใครคนอื่นอาจทำเรื่องเสื้อเหลือง เรื่องซ่าหริ่ม เรื่องเสื้อแดง แต่จุฬญานนท์กลับเลือกสัมภาษณ์แม่คนหนึ่งในชุมชนนางเลิ้ง (หนังทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลของชุมชนนางเลิ้ง) ที่ลูกชายของเธอถูกเสื้อแดงยิงตายในสงกรานต์เลือด ภาพของชุมชนนางเลิ้งสีขาวดำ ถูกสอดแทรกด้วยวัตถุทรงกลมประหลาดประดุขภาพวิญญาณล่องลอยไปมา ประกอบเสียงการสัมภาษณ์ที่หนักหน่วงตราตรึงทรงพลังซึ่ไม่ได้กล่าวโทษทางการเมืองต่อผู้ใด หากเป็นเสียงสัมภาษณ์ของหญิงคนหนึ่งที่เธอสูญเสียลูกเธอไปแล้ว นับเป็นการย้อนรอยทุกสีเสื้อได้อย่างกล้าหาญยิ่ง
กล่าวอย่างถึงที่สุดหนังของจุฬญานนท์ จึงเป็นภาพรวมของการทดลองทางภาพ การเปิดพื้นที่โล่งทางจินตนาการ ขณะเดียวกันก็แหลมคมในการวิพากษ์วิจารณ์จนเราต้องจับตาเขาไว้ให้แม่นมั่นจริงๆ
สุดถวิลหาคำพิพากษาอันเฟื่องฝันของแกะแดงในดวงจันทร์
วชร กัณหาเพิ่งทำหนังจริงจังได้ไม่กี่ปี แต่ในไม่กี่ปีที่ว่าเขากลับทำหนังออกมาจำนวนมาก ทั้งการไปช่วยคนอื่น ทำหนังของตัวเอง หรือไปเล่นหนังให้คนอื่น รวมไปรวมมาอาจจะเกือบสามสิบเรื่องและยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเร่งที่น่าตื่นเต้น!
วชรทำมาหมดแล้ว หนังสยองขวัญฆาตกรโรคจิต หนังแอคชั่นยากูซ่าแบบญี่ปุ่น หนังดราม่า หนังรักวัยรุ่นเด็กแนว หนังสารคดี หนังการเมือง หนังทดลอง หนังบ้านๆ หนังไซไฟ วชรใช้ทรัพยากรที่หาได้ในการค้นลึกลงไปในโลกภาพยนตร์ด้วยตัวเขาเอง แม้หนังของวชร อาจจะไม่ใช่หนังที่มีโปรดักชั่นชั้นเลิศ และยังอาจะมีความหนืดหน่วงในการตัดต่อ ซ้ำยังแสดงภาพการร่อยหรอของทุนอออกมาอย่างชัดเจน แต่ยิ่งดูหนังของเขาไปเรื่อยๆ เราก็ยิ่งเห็นความพยายามอันน่าทึ่งของคนรักหนังที่จะทำความเข้าใจกับหนังแบบต่างๆ จากการเลียนแบบฉากแบบพื้นๆ ค่อยผสมกับความพลุ่งพล่านของตัวเขาเอง และก่อรูปเป็นหนังที่รสประหลาด ไม่กลมกล่อมแต่ก็ไม่ใช่รสชาติแบบที่เราจะหาได้ทั่วไป
วชรเป็นสมาชิกหนึ่งในสามของสำนักงานใต้ดิน กลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันทำหนังอย่างไม่บันยะบันยัง อีกสองคนที่เหลือของสำนักงานใต้ดินคือ ธีรนิต์ เสียงเสนาะ ธนิ ฐิติประวัติ หนังของพวกเขามีทั้งที่ช่วยกันทำ กำกับร่วม ผลัดกันเล่น จนถึงหนังเดี่ยวของแต่ละคน ด้วยปริมาณ และรสชาติในหนังเหล่านี้ เราพอจะบอกได้อย่างไม่ขัดเขินว่านี่คือกลุ่มคนทำหนังที่พลุ่งพล่านที่สุดกลุ่มหนึ่งของไทยในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
ใน ‘เฟื่อง’หนังเรื่องดังที่สุดของพวกเขา เป็นหนังที่เหมาะเจาะกับการเปิดตัวให้รู้จักพวกเขา คนหนุ่มในห้องเช่ามืดๆ สุมหัวกันอ่านบทกวี ฟังเพลงร๊อค วาดรูป เล่นละคร เฟื่องแทบไม่ประนีประนอมต่อผู้ชม มันคือการประกาศการมาถึงของกลุ่มคนหนุ่มที่เร่าร้อนด้วยแรงปรารถนาทางศิลปะ สับสนอ่อนไหวต่อการเข้าใจโลก และพวกเขากำลังจะระเบิดพลังออกมา ใน ‘แกะแดง’ พวกเขาก็ทำแบบนั้นอีกเช่นกัน คนหนุ่มในห้องเช่าในวันที่มีการ ‘ขอคืนพื้นที่’จากผู้ชุมนุม แกะแดงพลุ่งพล่านไปด้วยความแค้นเคืองเคียดขึ้งที่พวกเขามีต่อเหตุบ้านการเมือง และพวกเขาเหวี่ยงทุกอย่างลงต่อหน้ากล้อง ระบายความเกรี้ยวกราดอย่างไม่ปรานีปราศรัย
หนังสองเรื่องนี้พอจะบอกเล่าภาพของสำนักงานใต้ดินได้เป็นอย่างดี ถึงที่สุดพวกเขาจะมีลีลาในการทำหนังที่แตกต่างกันไปและน่าตื่นเต้นไปคนละแบบก็ตามแต่ในที่นี่ขออนุญาติพูดถึงเฉพาะหนังของวชร แต่เพียงเท่านั้น
หนังของวชร มีตั้งแต่ BLUE BLANK หนังไซไฟเกี่ยวกับนักสืบที่ต้องขึ้นรถไฟไปลบความทรงจำ หนังสะท้อนนัยทางการเมืองเข้มข้นเช่นเดียวกับ เชลยแห่งความรัก ที่เอาจำเลยรักมาดัดแปลงแต่งเสริมให้เป็นเรื่องของชายคนหนึ่งที่ล่ามโซ่หญิงสาวชุดแดงไว้ในห้องของโรงแรมตัสลับกับภาพของกะเทยนางหนึ่งร้องเพลงอยู่ในห้องปิดและซากปรักหักพัง ใน’พายายหมอนไปชมสวน’ วชรตัดสลับระหว่างภาพแอบถ่ายพ่อของเขาออกกำลังกาย ยายหมอนในสวนซึ่งเป็นพื้นที่รกร้างทิ้งขยะข้างบ้าน ตัดสลับกับการถ่ายวิดีโอชายคนหนึ่งที่แสดงตัวว่าเป็นนักรบต่อสู้เพื่อปาเลสไตน์
เลยพ้นไปจากหนังการเมือง วชร ทำหนังอย่าง ‘คำพิพากษาของความรัก’ หนังประหลาดว่าด้วยชายคนหนึ่งที่ฆาตกรรมชายคนรักของตนแล้วเอาไปฝังในป่า หนังมีทั้งส่วนที่เป็นหนังเท่ๆ แบบหว่องกาไว หนังมืดสนิทชวนผวาหวั่นแบบ เดวิด ลินช์ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงท้ายที่อบอุ่นงดงามและชวนสะพรึงเศร้าสร้อย ในขณะที่ ‘สุดถวิลหา’ อัดแน่นไปด้วยพลังของการไขว่คว้าทางศิลปะการตัดต่อแบบไม่ประนีประนอมระหว่างช็อต ภาพ ฉากหลังที่เป็นเอฟเฟคต์มลังเมลืองแบบบ้านๆ การสร้างภาพขึ้นจากเพลงที่บันดาลใจ มันคือการตัดต่อร่วมเอาแรงบันดาลใจซึ่งนิมิตมาในฐานะของภาพเคลื่อนไหว ปะทะกันอย่างเศร้าสร้อยเพราะถึงที่สุดมันคือการถวิลหาที่ไม่อาจคว้าไขว่ครอบครอง และใน ‘ประถมบทแห่งการเริ่มต้นใหม่ของฉัน’ แรงบันดาลใจอันเศร้าสร้อยของวชรก็ระเบิดออกมา เขาทำหนังเรื่องนี้ด้วยการเอาภาพทั้งหมดที่เหลืออยู่ใคอมพิวเตอร์ของเขาที่จู่ๆ ก็พังไปและทำให้สิ่งที่เขาทำมาทั้งหมดสูญดับไปด้วย เขาเอาภาพทั้งจากภาพประกอบโปรแกรมต่างๆในเครื่อง หรือภาพที่หลงเหลือมาอัดเข้าไว้ด้วยกันเพื่อแสดงความอาลัย ความโกรธแค้น และความโศกเศร้า ต่อการตายลงของความฝันอดีต และเฉลิมฉลองการเริ่มต้นใหม่
หนังของวชร อาจจะไม่ได้เป็นหนังที่หมดจดงดงาม แต่สิ่งหนึ่งที่เขามีคือพลังอันเหลือล้น การไม่ประนีประนอมต่อแรงบันดาลใจของตนและการเปิดเปลือยความรักความใฝ่ฝัน จุดแข็งจุดอ่อน ความยากจน ความทะเยอทะยาน ของตนเองขึ้นจออย่างหมดเปลือก และไม่ว่าใครจะชอบหนังของเขาหรือไม่ก็คงไม่อาจปฏิเสธพลังอันพวยพุ่งในหนังของเขานี้
และนี่คือผู้กำกับทั้งสี่ เด็กหนุ่มทำหนังที่อาจยังไม่เป็นที่รู้จัก คนหนุ่มที่อาจจะไม่ใช่ผู้กำกับมือรางวัล คนทำหนังสั้นแสนสามัญที่ดิ้นรนแสดงภาพฉายของตนผ่านสื่อภาพยนตร์ หากพละกำลังของพวกเขา ความสร้างสรรค์ของพวกเขา และความกล้าหาญของพวกเขาก็เป็นที่น่าจับตาอย่างยิ่งว่ามันจะนำพาพวกเขาไปได้ถึงจุดไหน ในโปรเจ็คต์หนังโดมิโน่ที่พวกเขาต้องสานต่อกันและกัน สร้างสรรค์ร่วมกันมีข้อจำกัดและช่องทางสร้างสรรค์ร่วมกันนี้ ผู้เขียนขอเอาใจช่วยอย่างสุดตัว!
อย่าลืมร่วมบริจาคเงินร่วมสร้างหนังโดมิโน่ราคา 5 แสนบาทได้ที่นี่ http://dominofilm.blogspot.com/
ข้างบนนั่นไม่ใช่เรื่องย่อของหนังสั้นเรื่องใหม่ของใครทั้งสิ้น หากมันคือการจับเอาหนังสั้นจำนวนหนึ่งของผู้กำกับ 4 คนที่เรากำลังจะกล่าวถึงมายำร้อยเรียงรวมกัน แถมด้วยบางฉากบางตอนจากบทประพันธ์ของนักเขียนนามอุโฆษ 5 ท่าน คือ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, แดนอรัญ แสงทอง, อุทิศ เหมะมูล, ปราบดา หยุ่น และ อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนนามอุโฆษเหล่านี้ผู้ซึ่งจะมอบต้นฉบับมาเป็นหัวเชื้อในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์แบบโดมิโน อันหมายความว่าผู้กำกับทั้งสี่ (เจ้าของหนังสั้นที่เรายืมพล็อตมาเรียงใหม่ด้านบน) จะลงมือร้อยต่อเรื่องราวจากต้นทางสร้างขึ้นเป็นหนังส่วนแรกและส่งไม้ต่อไปให้ผู้กำกับคนต่อไปได้สานเรื่องเดิมต่อจนกลายเป็นหนังยาว 1 เรื่อง ภายใต้กรอบจำกัดของตัวละครชุดเดิม แต่เรื่องสามารถขยายออกไปได้หลากมิติ เราเรียกโปรเจคต์นี้กันสั้นๆ ว่า โดมิโปรเจ็คต์ ซึ่งทุกท่านสามารถอ่านเกี่ยวกับโปรเจ็คต์ดังกล่าว รวมถึงร่วมมือลงขันสนับสนุนโปรเจ็คต์นี้ได้ที่บล็อกนี้ http://dominofilm.blogspot.com/ หรือโทร ฟิล์มไวรัส – 086-490-6295, 02-925-0141
แต่หากประวัติของผู้กำกับที่คุณได้จากข้อมูลในบล็อกของโปรเจ็คต์ยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ ผมขออนุญาตรับหน้าที่ขยายความถึงความน่าสนใจของผู้กำกับแต่ละคนที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน แต่ได้มาวนเวียนมีส่วนร่วมอยู่ในงานชิ้นนี้
ของเหลวที่หลั่งจากจักรวรรดิทางภาษาของชุติมา
เด็กผู้หญิงที่ค้นพบว่าย่าสั่งซื้อดิลโดทางไปรษณีย์ และได้รับค่าจ้างจากคุณย่าในการทำให้นางอิ่มซึ้งถึงเพศรส เด็กสาวที่นอนกับผู้ชายไปทั่ว และแทนที่จะรับค่าจ้างกลับยินดีจ่ายให้ชายที่มานอนกับเธอ เธอแท้งตอนเคารพเพลงชาติและไม่ได้ยี่หระกับคุณค่าความเป็นหญิงอื่นใด ศิลปินสาวแม่นางแก้วมังกรที่เปิดบ้านให้ผู้ชมได้พบกับงานศิลปะชิ้นใหม่นั่นคือการเดินเข้ามารับชมเธอ, ศิลปินกระทำการช่วยตัวเอง หรือคู่รักชายชายที่กำลังเจอมรสุมชีวิตรักเนื่องจากฝ่ายหนึ่งเกิดอาการผื่นแพ้รุนแรงต่อสารคัดหลั่งจากร่างกายของอีกฝ่ายหนึ่ง เหล่านี้คือบรรดาตัวละครพิลึกพิลั่นของรัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค
ผู้หญิงและประเด็นทางเพศของเธอ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่วนเวียนอยู่ในหนังของรัชฎ์ภูมิมาตลอด ตัวละครหญิงของเขาก้าวข้ามเส้นขีดแบ่งทางศีลธรรมอย่าสนุกสนานและไม่ยี่หระใน ‘Ma vie incomplet et inachevee’ ที่เล่าเรื่องแบบสุดกู่ ทั้งการมีเซ็กส์กันในครอบครัว การมีเซ็กส์ของเด็กและคนแก่ อาการวิปริตของผู้คนในครอบครัว แถมทั้งหมดยังมาในรูปอนิเมชั่นสีสันสดใส พากย์เสียงภาษาฝรั่งเศส ส่วน ‘ชุติมา’ มีพล็อตว่าด้วยสาวสกอยท์กับความเป็นหญิงขาย(ซื้อ)บริการและความเป็นแม่ของเธอ ส่วน ‘ออกเสียงไม่ได้ในจักรวรรดิทางภาษาของคุณ’ ก็ล้อเล่นกับพรมแดนของศิลปะและความเป็นหญิง กระทั่งใน ‘ของเหลวที่หลั่งจากกาย’ หนังยาวสำหรับจบการศึกษาของรัชฏ์ภูมิ ที่มีตัวละครหลักเป็นคู่รักเกย์ เรายังสามารถพบเจอตัวละครหญิงอย่างคุณหมอในชุดส่าหรีเก๋ไก๋ ที่ก้อร่อก้อติกคนไข้แบบเปิดเผยตรงไปตรงมา ไหนจะการ ‘แฉนางชี’ที่ทนทุกข์เพราะบังเกิดความใคร่ในสถานภาวนาอีกเล่า!
แน่นอนว่านี่สุ่มเสี่ยงจะเป็นเพียงแฟนตาซีเพ้อฝันของผู้ชาย แต่ในทุกตัวละครหญิงของรัชฏ์ภูมิล้วนไม่มีประนีประนอม พวกเธอก้าวล้ำข้ามเส้นโดยไม่ได้เป็นตัวตลกเปิ่นเป๋อ (มันจะถูกนำเสนอออกมานเชิงขบขัน) ในทางตรงกันข้ามการกระทำของพวกเธอนั้น เข้าขั้นท้าทายการรับรู้ความเป็นหญิงของสังคมหลัก การนิยามเป้าหมาย หน้าที่ของความเป็นหญิงในสังคมชายเป็นใหญ่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่รัชฏ์ภูมิสนใจเป็นอย่างยิ่ง
หากเลยพ้นไปจากหนัง ตัวหนังสั้นของรัชฏ์ภูมิยังเกาเกี่ยวอยู่กับสุนทรียศาสตร์พิศวงผิดที่ผิดทางอีกด้วย ในหนังของเขามีทั้งอาการแผ่นกระตุกโดยตั้งใจที่ส่งผลไปถึงชีวิตตัวละคร มีสิ่งประหลาดๆ อย่างเช่นการตัดต่อที่ไม่เนียนโดยจงใจให้เห็นว่าเป็นหนัง การที่ตัวละครพากันทำกิจกรรมพิลึกพิลั่น อย่างไร้ที่มาที่ไปไร้เหตุไร้ผล ไม่เกี่ยวข้ออันใดกับตัวเรื่อง หรือกระทั้งฉากแทรกสอดที่โผล่พรวดเข้ามากลางเรื่องแล้วจากไปโดยไม่บอกกล่าว (เช่นอยู่ดีๆกล้องก็ถ่ายตัวละครผ่านการเทน้ำใส่แก้วทีละน้อยจนเต็ม หรือการที่ภาพเขียนที่ฝาผนังเคลื่อนขึ้นลงไปมาซ้ายทีขวาทีในทุกครั้งที่มีการตัดต่อ) การแสดงให้เห็นว่าเป็นหนัง การเอาแน่เอานอนออะไรไม่ได้ การเอาแต่ใจในตัวเรื่องทำให้หนังของรัชฏ์ภูมิดูเหมือนจะจู่ๆ สร้างเรื่องเล่าซ้อนเป็นฟิล์มบางๆ อีกชั้นขึ้นเคลือบคลุมชั้นของตัวเรื่องเดิม นั่นคือการถามหาตำแหน่งแห่งที่ในความเป็น ‘แค่เรื่องเล่า’ ของตัวเรื่องเล่านั้นเอง
ฆาตรกรรมสวาทประหลาดเปรูทำให้ซาตานหายตัวไปในพิพิธภัณฑ์แห่งแสง
เฉลิมเกียรติ แซ่หย่องเริ่มปรากฏตัวในเทศกาลหนังสั้นสองปีก่อนกับหนังประหลาดๆที่ชื่อ PERU TIME (กู่ก้องร้องบอกรักนิรันดร)ที่เป็นเพียงการถ่ายภาพของทุ่งหญ้าริมทางอันมีปั้นจั่นยักษ์เคลื่อนไหวอยู่ไกลๆ กล้องตั้งนิ่งยาวนานตลอดเวลาเกือบแปดนาที ฉากเดียวเดี่ยวโดดแทรกด้วยการขึ้นตัวหนังสือภาษาต่างดาววกไปวนมา หนังทำให้หลายคนเหวอ หลายคนปฏิเสธ และหลายคนตื่นเต้น ตามด้วย ‘ฆาตรกรรมสวาท ประหลาดน่านฟ้า ทำให้คนหายตัวไป’ หนังยอกย้อนซ่อนกลที่อุดมไปด้วยการขึ้น text แสร้งให้เห็นว่าห้องน้ำมหาวิทยาลัย เป็นห้องน้ำในสนามบินสุวรรณภูมิ เด็กนักศึกษาเป็นแอร์โฮสเตส และเล่าคดีฆาตกรรมลึกลับกับแบบต่อหน้าต่อตาโดยผ่านการขึ้นข้อความขึ้นซับไตเติ้ล สับสนวกวนยอกย้อน ในปีต่อมา เฉลิมเกียรติไปไกลมากขึ้นด้วย ‘คำพิพากษาของซาตาน’ หนังที่เล่าเรื่องเขาพระวิหาร สัตว์สูญพันธ์ กรณีพิพาทเหลืองแดง โดยอาศัยภาพแทนประหลาดๆ อย่างเช่นชายผู้ถูกยิงตายในทุ่งร้างข้างบิ๊กซี (ขึ้นข้อความว่าประเทศในแถบอเมริกาใต้) หรือเด็กหนุ่มสาวในห้องโรงแรม คุณป้ารีดผ้า สลับกับข้อความจากเวบบอร์ดในเรื่องต่างๆ และคำอธิบายเกี่ยวกับสัตว์สงวนปรากฏเป็น text ซ้อนมา ใน ‘สถานต่างอากาศ’ เขาถ่ายภาพโฮมวีดีโอโดยใช้กล้องทุกรูปแบบที่หาได้ และในสารคดี ‘บางคนที่ตกค้างอยู่ในความทรงจำ’ เฉลิมเกียรติทำสารคดีเกี่ยวกับดอนเมือง โดยขึ้นเป็น text ให้ทุกคนอ่านจนจบ แนบบทสัมภาษณ์ในครึ่งแรก ก่อนที่ครึ่งหลังหนังจะเป็นเพียงภาพล้วนๆของการหวนหาอาลัย ทั้งสถานที่ ผู้คน ความทรงจำซึ่งในเวลาต่อมาเขาให้สัมภาษณ์ว่า เขาทำหนังเรื่องนี้เพราะในช่วงเวลานั้นพ่อกับแม่ของเขาได้ขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรกในชีวิต ขณะเดียวกันหญิงสาวที่เขาเคยแอบชอบ มีความใฝ่ฝันจะเป็นแอร์โอสเตส หนังจึงกลายเป็นภาพของความทรงจำอันแสนหวาน แตกหักกับงานสารคดีที่ท้าทายขนบสารคดีในคราวเดียว และล่าสุดใน พิพิธภัณฑ์แห่งแสง เฉลิมเกียรติใช้ความมืดเป็นแก่นแกนหลักในการฉายภาพผู้คนที่พากันไปส่องไฟฉายดูพิพิธภัณฑ์แสงในความมืดมิด การเล่นซ้ำไปซ้ำมาของฟุตเตจเดิมสลับตำแหน่งแห่งที่ และความมืดอันเข้มข้น
อาจจะบอกได้ว่าเขาทำหนังประหลาด ที่ดูเหมือนคนทำหนังไม่เป็น การขึ้นข้อความแทนการลำดับภาพอาจทำให้ใครต่อใครพากันมองว่าหนังของเฉลิมเกียรตินั้นอ่อนด้อย หากสิ่งที่น่าสนใจในหนังของเฉลิมเกียรติก็คือการเล่นกับตัว text นั้นอยู่เอง ขอบเขตของ text ในสื่อภาพยนตร์ text ของเฉลิมเกียรติ เป็นทั้งผู้เล่า ในขณะเดียวกันก็รับหน้าที่ดึงคนดูออกจากการเล่า text ในฆาตรกรรมสวาท ทำหน้าที่บอกตำแหน่งแห่งที่ เล่าเรื่อง ขณะเดียวกันก็ยั่วล้อตัวมันเอง (เช่นการขึ้น text ให้เห็นว่านี่เป็นแผ่นผีจากร้านดีวีดี) ขณะที่ คำพิพากษา text สร้างเรื่องเล่าอีกชุดซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกันกับภาพที่กำลังรับชมและไม่ได้มีหน้าที่สร้างเรื่องเล่าให้ภาพด้วยซ้ำ เป็นเพียงการปรากฏซ้อนของถนนสองสายที่มาบรรจบกันกลายเป็นการตีความใหม่ ก่อนที่มันจะไปสุดทางใน บางคนที่ตกค้างในความทรงจำ ที่เปิดเผยให้เห็นว่า text คือปัญหาที่ควรขจัดออกไป กล่าวให้ถูกต้องถ้า text ในหนังเฉลิมเกียรติคือตัวเล่าเรื่อง ซึ่งการเล่าเรื่องไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่คือปัญหากีดขวางการใช้ภาพของเขา
หนังของเฉลิมเกียรติมักชวนพิศวงงงวย มันมีความเป็นหนังการเมือง (หนังหลายเรื่องของเขาซ่อนนัยยะทางการเมืองไว้อย่างน่าสนใจ) แต่ก็มีความเป็นหนังทดลอง มีความเป็นหนังนักศึกษาที่ทำหนังไม่เป็น กับหนังของคนทำหนังที่พยายามไปให้พ้นจากกรอบข้อบังคับของความเป็นหนัง ระหว่างความอ่อนด้อยในการเล่ากับความกล้าหาญท้าทาย นั่นคือที่ที่หนังประหลาดของเฉลิมเกียติ กู่ก้องร้องบอกรักความทรงจำที่มีต่อผู้คน ภาพนิ่งเฉย และบรรยากาศลึกลับที่หาชมได้ยากยิ่ง
ความทรงจำเกี่ยวกับภัยใกล้ตัวของเจ้าหญิงนิทราที่ร้องคาราโอเกะเพลงบ้านทรายทองในร้านแถบหัวลำโพง
นี่คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ในหนังของจุฬญานนท์ ชายชราถ่ายรูปตัวเองที่สถานีรถไฟหัวลำโพง คนรับใช้ชาวพม่าห่อแหนม ผู้คนในบ้านพากันหลับใหลไปหมด วัตถุทรงกลมหน้ากล้องที่อาจจะมาจากแสงสะท้อน ข้อสอบที่เอามาขึ้นจอกันให้ลองทำเล่นๆ คาราโอเกะ และภาพขาวดำถ่ายชุมชนนางเลิ้ง ภาพของจุฬญานนท์ไม่อาจเป็นหลักประกันต่อเรื่องที่เขาเล่าได้จริงๆ หรอก เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูหนังของจุฬญานนท์คือการปะทะสังสรรค์ของจินตนาการจากภาพที่เรามองเห็นต่างหาก
เราอาจแบ่งหนังจุฬญานนท์คร่าวๆ ได้เป็นสองช่วง ในหนังช่วงแรกที่เขาทำสมัยอยู่มัธยมอย่าง หัวลำโพง หนังสังเกตการณ์ชายชราคนหนึ่งที่มาถ่ายภาพตัวเองที่หัวลำโพง บ้านทรายทอง เรื่องเล่ากึ่งสารคดีที่รีเมคบ้านทรายทองใหม่โดยใช้คนในครอบครัวของเขามาเป็นนักแสดง แล้วยังถ่ายทำอยู่ในบ้านของตัวเอง และ เจ้าหญิงนิทราที่เป็นเหมือนการบรรจบระหว่างหัวลำโพงกับ บ้านทรายทอง เมื่อเขาทำเพียงแค่แอบถ่ายชีวิตประจำวันของคนในบ้าน แอบถ่ายคนในครอบครัวนอนหลับ และปล่อยให้ผู้ชมร่างเรื่องราวขึ้นมาเองในหัว หนังในยุคนี้ของจุฬญานนท์เป็นภาพสังเกตที่สามัญ ภาพที่ปะปนระหว่างการแอบถ่ายกับการจัดเรื่องจัดราวนิดหน่อย (ในบ้านทรายทอง เขาให้คนรับใช้ชาวพม่ามารับบทพจมาน และเอาพ่อของเขาเองมาเล่นบทชายกลาง อาการประดักประเดิดเขินกล้องของตัวละครถูกบันทึกเอาไว้ด้วย และคนดูก็ต้องประดอบสร้างเองว่าใครเป็นใครในบ้านทรายทองนี้) ภาพการสังเกตของจุฬญานนท์ อาจดูเหมือนไม่มีอะไรพิสดารพันลึกแต่การทิ้งพื้นที่โดยมีลายแทงเป็นชื่อเรื่องทำให้ผู้ชมค่อยๆสานเสริมเติมต่อจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องเล่าขึ้นมาเองจากภาพที่มี
ในช่วงเวลาต่อมาจุฬญานนท์เริ่มเข้าสู่การเป็นหนังทดลองมากขึ้น เริ่มจากงานกึ่งวีดีโออาร์ตอย่างวัตถุทรงกลมที่เพียงถ่ายแสงสะท้อนจากหน้ากล้อง จนมาถึง ภัยใกล้ตัว(ฉบับผู้กำกับ) หนังที่กล้าหาญร้ายกาจที่สุดเรื่องหนึ่งของเขา หนังแสดงภาพความอึดอัดขัดข้องที่เขามีต่อระบบการศึกษาภาพยนตร์ในเมืองไทยด้วยการเอาหนังที่เขาทำส่งครูมาใส่คอมเมนต์ทั้งหมดทั้งหมดที่ครูคอมเมนท์มา ในทุกๆ ฉาก ตัวหนังสือข้อคอมเมนต์ของอาจารย์จะขึ้นมาชี้ช่องให้ผู้ชมเห็น ตัวหนังเป็นทั้งการตบตีต่อขนบของการทำหนังที่น่าเบื่อ คาดเดาได้ ในขณะเดียวกันมันคือการตอบโต้ต่อระบบการเรียนการสอนที่ปิดกั้นจินตนาการผู้คนอย่างร้ายกาจ หนังจบลงด้วยภาพรูปนักศึกษาของเขาเองที่ค่อยๆไหม้ไฟไปทีละน้อย
หนังในช่วงหลังของจุฬญานนท์ขยับขยายมาสู่แง่มุมทางการเมืองมากขึ้น คาราโอเกะเพลงแผ่เมตตาเป็นการแสดงมุมมองทางการเมืองต่อเสื้อสองสีที่หยิบมาเสียดสีได้อย่างขบขัน (แม้อาจจะชวนให้รู้สึกถึงความไร้เดียงสาอยู่บ้าง) หากใน แบบทดสอบวิชาการเมืองไทยร่วมสมัย จุฬญานนท์ก็ร้ายกาจพอจะโยนคำถามแสบทรวงใส่หน้าผู้ชมโดยการทำหนังให้เป็นเหมือนพาวเวอร์พอยท์ข้อสอบ ว่าด้วยการเมืองไทยร่วมสมัย ก่อนที่เขาจะทำสารคดีที่หนักหน่วง ร้ายกาจและทรงพลังอย่าง ประวัติย่อของความทรงจำ ใครคนอื่นอาจทำเรื่องเสื้อเหลือง เรื่องซ่าหริ่ม เรื่องเสื้อแดง แต่จุฬญานนท์กลับเลือกสัมภาษณ์แม่คนหนึ่งในชุมชนนางเลิ้ง (หนังทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลของชุมชนนางเลิ้ง) ที่ลูกชายของเธอถูกเสื้อแดงยิงตายในสงกรานต์เลือด ภาพของชุมชนนางเลิ้งสีขาวดำ ถูกสอดแทรกด้วยวัตถุทรงกลมประหลาดประดุขภาพวิญญาณล่องลอยไปมา ประกอบเสียงการสัมภาษณ์ที่หนักหน่วงตราตรึงทรงพลังซึ่ไม่ได้กล่าวโทษทางการเมืองต่อผู้ใด หากเป็นเสียงสัมภาษณ์ของหญิงคนหนึ่งที่เธอสูญเสียลูกเธอไปแล้ว นับเป็นการย้อนรอยทุกสีเสื้อได้อย่างกล้าหาญยิ่ง
กล่าวอย่างถึงที่สุดหนังของจุฬญานนท์ จึงเป็นภาพรวมของการทดลองทางภาพ การเปิดพื้นที่โล่งทางจินตนาการ ขณะเดียวกันก็แหลมคมในการวิพากษ์วิจารณ์จนเราต้องจับตาเขาไว้ให้แม่นมั่นจริงๆ
สุดถวิลหาคำพิพากษาอันเฟื่องฝันของแกะแดงในดวงจันทร์
วชร กัณหาเพิ่งทำหนังจริงจังได้ไม่กี่ปี แต่ในไม่กี่ปีที่ว่าเขากลับทำหนังออกมาจำนวนมาก ทั้งการไปช่วยคนอื่น ทำหนังของตัวเอง หรือไปเล่นหนังให้คนอื่น รวมไปรวมมาอาจจะเกือบสามสิบเรื่องและยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเร่งที่น่าตื่นเต้น!
วชรทำมาหมดแล้ว หนังสยองขวัญฆาตกรโรคจิต หนังแอคชั่นยากูซ่าแบบญี่ปุ่น หนังดราม่า หนังรักวัยรุ่นเด็กแนว หนังสารคดี หนังการเมือง หนังทดลอง หนังบ้านๆ หนังไซไฟ วชรใช้ทรัพยากรที่หาได้ในการค้นลึกลงไปในโลกภาพยนตร์ด้วยตัวเขาเอง แม้หนังของวชร อาจจะไม่ใช่หนังที่มีโปรดักชั่นชั้นเลิศ และยังอาจะมีความหนืดหน่วงในการตัดต่อ ซ้ำยังแสดงภาพการร่อยหรอของทุนอออกมาอย่างชัดเจน แต่ยิ่งดูหนังของเขาไปเรื่อยๆ เราก็ยิ่งเห็นความพยายามอันน่าทึ่งของคนรักหนังที่จะทำความเข้าใจกับหนังแบบต่างๆ จากการเลียนแบบฉากแบบพื้นๆ ค่อยผสมกับความพลุ่งพล่านของตัวเขาเอง และก่อรูปเป็นหนังที่รสประหลาด ไม่กลมกล่อมแต่ก็ไม่ใช่รสชาติแบบที่เราจะหาได้ทั่วไป
วชรเป็นสมาชิกหนึ่งในสามของสำนักงานใต้ดิน กลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันทำหนังอย่างไม่บันยะบันยัง อีกสองคนที่เหลือของสำนักงานใต้ดินคือ ธีรนิต์ เสียงเสนาะ ธนิ ฐิติประวัติ หนังของพวกเขามีทั้งที่ช่วยกันทำ กำกับร่วม ผลัดกันเล่น จนถึงหนังเดี่ยวของแต่ละคน ด้วยปริมาณ และรสชาติในหนังเหล่านี้ เราพอจะบอกได้อย่างไม่ขัดเขินว่านี่คือกลุ่มคนทำหนังที่พลุ่งพล่านที่สุดกลุ่มหนึ่งของไทยในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
ใน ‘เฟื่อง’หนังเรื่องดังที่สุดของพวกเขา เป็นหนังที่เหมาะเจาะกับการเปิดตัวให้รู้จักพวกเขา คนหนุ่มในห้องเช่ามืดๆ สุมหัวกันอ่านบทกวี ฟังเพลงร๊อค วาดรูป เล่นละคร เฟื่องแทบไม่ประนีประนอมต่อผู้ชม มันคือการประกาศการมาถึงของกลุ่มคนหนุ่มที่เร่าร้อนด้วยแรงปรารถนาทางศิลปะ สับสนอ่อนไหวต่อการเข้าใจโลก และพวกเขากำลังจะระเบิดพลังออกมา ใน ‘แกะแดง’ พวกเขาก็ทำแบบนั้นอีกเช่นกัน คนหนุ่มในห้องเช่าในวันที่มีการ ‘ขอคืนพื้นที่’จากผู้ชุมนุม แกะแดงพลุ่งพล่านไปด้วยความแค้นเคืองเคียดขึ้งที่พวกเขามีต่อเหตุบ้านการเมือง และพวกเขาเหวี่ยงทุกอย่างลงต่อหน้ากล้อง ระบายความเกรี้ยวกราดอย่างไม่ปรานีปราศรัย
หนังสองเรื่องนี้พอจะบอกเล่าภาพของสำนักงานใต้ดินได้เป็นอย่างดี ถึงที่สุดพวกเขาจะมีลีลาในการทำหนังที่แตกต่างกันไปและน่าตื่นเต้นไปคนละแบบก็ตามแต่ในที่นี่ขออนุญาติพูดถึงเฉพาะหนังของวชร แต่เพียงเท่านั้น
หนังของวชร มีตั้งแต่ BLUE BLANK หนังไซไฟเกี่ยวกับนักสืบที่ต้องขึ้นรถไฟไปลบความทรงจำ หนังสะท้อนนัยทางการเมืองเข้มข้นเช่นเดียวกับ เชลยแห่งความรัก ที่เอาจำเลยรักมาดัดแปลงแต่งเสริมให้เป็นเรื่องของชายคนหนึ่งที่ล่ามโซ่หญิงสาวชุดแดงไว้ในห้องของโรงแรมตัสลับกับภาพของกะเทยนางหนึ่งร้องเพลงอยู่ในห้องปิดและซากปรักหักพัง ใน’พายายหมอนไปชมสวน’ วชรตัดสลับระหว่างภาพแอบถ่ายพ่อของเขาออกกำลังกาย ยายหมอนในสวนซึ่งเป็นพื้นที่รกร้างทิ้งขยะข้างบ้าน ตัดสลับกับการถ่ายวิดีโอชายคนหนึ่งที่แสดงตัวว่าเป็นนักรบต่อสู้เพื่อปาเลสไตน์
เลยพ้นไปจากหนังการเมือง วชร ทำหนังอย่าง ‘คำพิพากษาของความรัก’ หนังประหลาดว่าด้วยชายคนหนึ่งที่ฆาตกรรมชายคนรักของตนแล้วเอาไปฝังในป่า หนังมีทั้งส่วนที่เป็นหนังเท่ๆ แบบหว่องกาไว หนังมืดสนิทชวนผวาหวั่นแบบ เดวิด ลินช์ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงท้ายที่อบอุ่นงดงามและชวนสะพรึงเศร้าสร้อย ในขณะที่ ‘สุดถวิลหา’ อัดแน่นไปด้วยพลังของการไขว่คว้าทางศิลปะการตัดต่อแบบไม่ประนีประนอมระหว่างช็อต ภาพ ฉากหลังที่เป็นเอฟเฟคต์มลังเมลืองแบบบ้านๆ การสร้างภาพขึ้นจากเพลงที่บันดาลใจ มันคือการตัดต่อร่วมเอาแรงบันดาลใจซึ่งนิมิตมาในฐานะของภาพเคลื่อนไหว ปะทะกันอย่างเศร้าสร้อยเพราะถึงที่สุดมันคือการถวิลหาที่ไม่อาจคว้าไขว่ครอบครอง และใน ‘ประถมบทแห่งการเริ่มต้นใหม่ของฉัน’ แรงบันดาลใจอันเศร้าสร้อยของวชรก็ระเบิดออกมา เขาทำหนังเรื่องนี้ด้วยการเอาภาพทั้งหมดที่เหลืออยู่ใคอมพิวเตอร์ของเขาที่จู่ๆ ก็พังไปและทำให้สิ่งที่เขาทำมาทั้งหมดสูญดับไปด้วย เขาเอาภาพทั้งจากภาพประกอบโปรแกรมต่างๆในเครื่อง หรือภาพที่หลงเหลือมาอัดเข้าไว้ด้วยกันเพื่อแสดงความอาลัย ความโกรธแค้น และความโศกเศร้า ต่อการตายลงของความฝันอดีต และเฉลิมฉลองการเริ่มต้นใหม่
หนังของวชร อาจจะไม่ได้เป็นหนังที่หมดจดงดงาม แต่สิ่งหนึ่งที่เขามีคือพลังอันเหลือล้น การไม่ประนีประนอมต่อแรงบันดาลใจของตนและการเปิดเปลือยความรักความใฝ่ฝัน จุดแข็งจุดอ่อน ความยากจน ความทะเยอทะยาน ของตนเองขึ้นจออย่างหมดเปลือก และไม่ว่าใครจะชอบหนังของเขาหรือไม่ก็คงไม่อาจปฏิเสธพลังอันพวยพุ่งในหนังของเขานี้
และนี่คือผู้กำกับทั้งสี่ เด็กหนุ่มทำหนังที่อาจยังไม่เป็นที่รู้จัก คนหนุ่มที่อาจจะไม่ใช่ผู้กำกับมือรางวัล คนทำหนังสั้นแสนสามัญที่ดิ้นรนแสดงภาพฉายของตนผ่านสื่อภาพยนตร์ หากพละกำลังของพวกเขา ความสร้างสรรค์ของพวกเขา และความกล้าหาญของพวกเขาก็เป็นที่น่าจับตาอย่างยิ่งว่ามันจะนำพาพวกเขาไปได้ถึงจุดไหน ในโปรเจ็คต์หนังโดมิโน่ที่พวกเขาต้องสานต่อกันและกัน สร้างสรรค์ร่วมกันมีข้อจำกัดและช่องทางสร้างสรรค์ร่วมกันนี้ ผู้เขียนขอเอาใจช่วยอย่างสุดตัว!
อย่าลืมร่วมบริจาคเงินร่วมสร้างหนังโดมิโน่ราคา 5 แสนบาทได้ที่นี่ http://dominofilm.blogspot.com/
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น